เที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ที่พักศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สถานที่ท่องเที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทรแผนที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

เที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ที่พักศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สถานที่ท่องเที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทรแผนที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
อโยธารา วิลเลจ รีสอร์ท
เป็นโรงแรมสไตล์ไทยติดทิวทัศน์ริมแม่น้ำ ภายใต้ความสงบร่มรื่นของต้นกล้วยและพืชพรรณ ...
ปลายนา รีสอร์ท
ปลายนา รีสอร์ท เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางที่ดีเยี่ยมใน อยุธยา ด้วยทำเลที่ตั้งอันเ ...
อยุธยา การ์เด้น ริเวอร์โฮม
โรงแรมสงบเงียบเหมาะกับการอยู่สันโดษห้องกว้าง ตกแต่งสวย บรรยากาศเงียบสงบ สัมผัสได ...
กรุงศรี ริเวอร์
กรุงศรี ริเวอร์ ห้องพักสวย สะอาด เห็นวิวแม่น้ำ สะดวกสบาย กว้างขวาง ที่พักตั้งอยู ...
เดอะคาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท
เดอะคาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท ห่างจากตลาดน้ำอโยธยาและสถานีรถไฟอยุธยาเพียง 5 นาทีหากเด ...
พระราชวังบางปะอิน
พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นใน ...
วัดไชยวัฒนาราม
วัดไชยวัฒนารามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสา ...
วัดพระราม
วัดพระรามเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้า ...
ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ
ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอย่างยิ่ง จัดตั้งขึ้นเพื่ ...
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณน่าจะได้ลองไปสักครั้ง ปัจจุบันม ...
Rating : 9/10
14413
โทรศัพท์ :
(035) 366-252-4, (035) 283-246-9
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000ไร่

ท่องเที่ยว ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อยุธยา

ประวัติความเป็นมา

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรใน ทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎรจึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ

ในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านหรือศิลปกรรมพื้นบ้านที่จัดทำ ขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการ ช่วยปรับปรุงคุณภาพ ของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21กรกฏาคม 2519 และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา

ในวันฉัตรมงคลปี 2523 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สรรหาที่ดินที่ใกล้เคียงกับพระราชวังบางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีก แห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินได้ 2 แปลง เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้มีที่อยู่ และทำมาหากินตามอัตภาพ แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอ บางไทรด้วยพระองค์เอง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 750 ไร่เศษ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ ณ ที่นี้ วันที่ 3 มิถุนายน 2523 รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่าง ๆ สนับสนุนโครงการของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแล สถานที่และการฝึกอบรม และมีหน่วยทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 200 ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ ทั้งหมดเกือบ 1,000 ไร่ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2527

สิ่งที่น่าสนใจ

ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ

ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ชั้นที่ 4 เป็นห้องประชุมสัมนา เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม

หมู่บ้านศิลปาชีพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนหมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตยกรรม ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่าง ๆ การจำลองชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย ๆ ในแต่ละภาค และการสาธิตงานศิลปาชีพ เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 17.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 -19.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 4 ภาคให้ชมด้วยในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์วันละ 1 รอบ ระหว่างเวลา 16.30 -17.30 น. นอก จากนี้หมู่บ้านศิลปาชีพบางไทรยังมีความยินดีที่จะนำเสนอพิธีมงคลสมรสแบบ ประเพณีไทยโบราณภาคกลางโดยกัดกิจกรรมตามประเพณีไทยสมบูรณ์แบบ เช่น พิธีสงฆ์ ขบวนแห่ขันหมาก พิธีหลั่งน้ำสังข์ ตกแต่งสถานที่ เสียงดนตรี - เพลงบรรเลงตลอดงาน อาหารและน้ำดื่มแขกญาติ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมู่บ้านศิลปาชีพ (035) 366-666-7, (089) 132-0303 คุณอัจฉรา)

อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของศูนย์ฯประกอบด้วยอาคารฝึกอบรมศิลปาชีพของแผนกต่าง ๆ ปัจจุบันทางศูนย์ได้เปิดอบรมศิลปาชีพด้านหัตถกรรมพื้นบ้านและอาชีพเสริมให้ กับเกษตรกรจากทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งสิ้น 29 แผนกซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิธีการฝึกอบรมศิลปาชีพของศูนย์ฯได้ทุก ขั้นตอนและการผลิตงานศิลปาชีพ ที่มีความประณีตวิจิตรซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 09.00- 16.00 น. ยกเว้นช่วงที่ปิดรุ่นการฝึกอบรม

พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ นายถู เจี๋ย ในนามของประชาชนชาวจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม พันพระหัตถ์ซึ่งแกะสลักจากไม้ จันทน์เหลือง สูง 6 เมตร จำนวน1 องค์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักชั่วคราว ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิม ได้มานมัสการ และสักการะบูชา ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.

พระตำหนัก เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูงสร้างโดยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมีความสวย งามตามแบบฉบับเรือนไทยดั้งเดิม พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ พระตำหนักนี้แวดล้อมไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับและน้ำตกจำลองที่สวยงาม

วังปลา จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตู้ ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่วมีขนาดความจุ 1,400 ตัน อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ 600 ตัน ภายในตู้จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย เปิดให้ชม เวลา 10.00 - 16.00 น. ปิดทุกวันจันทร์และวันอังคาร

สวนนก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ 2 กรง ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า 30 ชนิด มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมือนธรรมชาติ อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง มีป่าจำลองที่ร่มรื่นใกล้เคียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปชม และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน และบริเวณรอบ ๆกรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่น ๆ ให้ชมอีกด้วย เปิดใหชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 -19.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-18.00 น.

อัตราค่าเข้าชม

ชาวไทย ผู้ใหญ่ 50บาท เด็ก 20บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท เที่ยว ชมภายในหมู่บ้านศิลปาชีพฯ "วังปลา" พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อาคารฝึก อบรมงานศิลปาชีพ "ศาลาพระมิ่งขวัญ" ซึ่งเป็นอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของนักเรียนศิลปาชีพ สักการะบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมฯ ณ ศาลาโรงช้าง และนั่งรถไฟเล็ก ได้โดยไม่เสียค่าบริการ  สอบถามรายละเอียดที่ประชาสัมพันธ์ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) จากแยกทางหลวง 344 (อ.บางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จ.สุพรรณบุรี-ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก-ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อ ส่า-เดินรถตรงจนถึงศูนย์ฯ

เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 306 ถ.ติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด-ผ่านแยกสวนสมเด็จ-ผ่านแยกปากคลองรังสิต-ผ่านแยกบาง พูน-เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนฯปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยกเชียงรากน้อย-เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่าน แยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรง มาจนถึงศูนย์

เส้นทางที่ 3 ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอินตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้ สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) จากรังสิตหรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน-ผ่านแยกต่างระดับบางปะอินเข้าทางหลวง หมายเลข 9 (ถ.วงแหวนตะวันตก) ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย - เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า - กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา - เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์

เส้นทางที่ 5 ทางหลวงเอเชีย จาก อ.บางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข 347(ปทุมธานี-บางปะหัน) - ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา - เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา - เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ ++เส้นทางที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทางหลวงสายเอเชียหรืออยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้าย ทางแยกท่าน้ำบางไทร - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.