งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก ท่องเที่ยวไทย จังหวัดอุดรธานี

งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดอุดรธานี
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
ดิโอโซนบูติก
โรงแรมดิโอโซนบูธีค อุดรธานี โรงแรมใหม่ใจกลางเมืองอุดรธานี ตกแต่งเรียบหรู สไตล์โม ...
ดีดี-เพลส
ในย่านการออกไปลิ้มชิมรสอาหาร, การช็อปปิ้งของ อุดรธานี โรงแรมดีดีเพลส เป็นตัวช่วย ...
สุนทรีย์เฮาส์
โรงแรมสุนทรีย์ เฮ้าส์ อีกหนึ่งบรรยากาศของการพักผ่อน ใจกลางเมืองอุดรธานี สะดวกสบา ...
หนึ่งเดี่ยวรีสอร์ท
หนึ่งเดี่ยว รีสอร์ท เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางที่ดีเยี่ยมใน อุดรธานี ด้วยทำเลที่ต ...
บีทีแกรนด์
หากคุณกำลังมองหาโรงแรมที่เดินทางไปได้ง่ายใน อุดรธานี ไม่ต้องมองหาที่อื่นนอกจาก บ ...
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และ ...
พระพุทธบาทบัวบาน
พระพุทธบาทบัวบานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่ที่อยู่ในโบสถ์ และมีการ ...
Rating : 8.5/10
8332
ช่วงเวลา :
มีนาคม ของทุกปี
 งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
 งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
 งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
 งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี

งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก ภายในงานจะมีการจำหน่ายสินค้า อาหารและผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ประชาชนในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงที่เดินทางมาร่วมงาน นอกจากจะได้นมัสการพระพุทธบาทแล้วยังสามารถเดินเท้าไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมา พระพุทธบาทบัวบก ประดิษฐาน ณ วัดพระพุทธบาทบัวบก เชิงเขาภูพาน ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างอยู่ในพื้นที่ 2,500 ไร่ องค์พระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในพระธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นตามแบบองค์พระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทแต่เดิมนั้น มีปรากฏในตำนานพระเจ้าเหยียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาลาวกล่าวถึงการเสด็จโปรดสัตว์ของพระพุทธองค์ยังที่ต่างๆ ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จออกแสดงพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวง พระบาง ประเทศลาว ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงตรงข้ามมีความดุร้ายและรบกวนมนุษย์และสัตว์อยู่เสมอ จึงตัดสินพระทัยเสด็จไปยังหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อยู่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ประทานพระธรรมแก่กุทโธปาปนาค และเมื่อได้ฟังพระธรรมก็เลื่อมใสและยอมเป็นศิษย์นับถือพระไตรสรณคมน์ กุทโธปาปนาครำลึกถึงน้องชย คือ มิลินทนาค ที่มีนิสัยดุร้ายและชอบทำร้ายมนุษย์และสัตว์เช่นกัน จึงกราบทูลขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของมิลินทนาค มิลินทนาคก็ได้สำแดงเดชเพื่อขัดขวางและทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่างๆ แต่ไม่เป็นผล จึงได้ปลอมตัวเป็นคนเข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระองค์จึงได้ทรงเทศนาสั่งสอน มิลินทนาคเกิดสำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงยอม ด้วยทรงพิจารณามิลินทนาคเป็นสัตว์เดรัจฉานเป็นการผิดวินัยของพระองค์ จึงได้ประทานพระไตรสรณคมน์ให้ถือปฏิบัติต่อไปไม่เบียดเบียนสัตว์โลก มิลินทนาคเมื่อกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทไม่ได้ จึงได้กราบทูลขอรอยพระพุทธบาทพระองค์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์ได้พิจารณาสถานที่นั้นแล้วจึงได้พระราชทานรอยพระพุทธบาทของพระองค์ไว้ให้และเสด็จไปสู่มัธยมประเทศ อันเป็นเขตแห่งเชตุวันมหาวิหาร ด้วยเหตุนี้สถานที่แห่งนี้จึงได้นามว่าพระพุทธบาทบัวบก

นอกจากนั้นยังมีตำนานที่กล่าวถึงการพบรอยพระพุทธบาทดังกล่าว คือ “พรานผุย” (บ้างก็ว่าเป็นพรานเจตบุตร) แห่งบ้านนาหลวง ตามสัตว์ที่ถูกยิงบาดเจ็บแล้วเลียแผลหายอย่างน่าอัศจรรย์ จึงได้เดินสำรวจป่าแถบนี้ก็พบรอยพระพุทธบาทที่ล้อมรอบด้วยป่าบัวบก หรือบัวสันโดษ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำต้นเดี่ยวไปใหญ่ขนาดใบบอน เมื่อพบรอยพระพุทธบาทแล้ว พรานผุยจึงละบาปทั้งปวง หันมาทำหน้าที่ดูแลพระพุทธบาทบัวบก ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏโขดหินบ้านนายพราน และโขดหินยุ้งข้าวของนายพรานอยู่ ผู้พบรอยพระพุทธบาท สมัยที่ 2 คือ ฤาษีจันทา กับนักบวชพรตพราหมณ์เมื่อ พ.ศ. 600 ทั้งยังได้ร่วมสร้างอุโมงค์กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 8 เมตร ครอบรอบพระพุทธบาทไว้ และภายในรอยพระพุทธบาทบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 16 องค์

หลังจากนั้นเป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทได้ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลาหลายพันปี การบูรณะครั้งสุดท้ายดังที่ปรากฏอยู่ปัจจุบันนี้ ราว พ.ศ.2426 ครั้งนั้นมีพระสงฆ์หลายรูปจาก อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีอาจารย์ศรีทัศน์ เป็นผู้นำออกธุดงค์ มาจนถึงตำบลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้พยายามไต่ถามชาวบ้านให้บอกที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทและได้พบรอยพระพุทธบาทตามความตั้งใจ และได้ขอแรงจากชาวบ้านใกล้เคียงช่วยกันก่อสร้างพระเจดีย์คลุมรอยพระพุทธบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป รวมทั้งประเทศลาวด้วย การคมนาคมไม่สะดวกเช่นปัจจุบัน จึงทำให้การก่อสร้างดำเนินไปด้วยความยากลำบากและล่าช้า แต่ในที่สุดด้วยแรงแห่งศรัทธาของประชาชน การก่อสร้างก็แล้วเสร็จลงรวมเวลา 14 ปี และเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้นได้เดินทางไปทำพิธีถวายพระประธาน ซึ่งหน่วยผสมพลเรือนทหารที่ 21 ร่วมกับกรมทหารราบที่ 13 และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นพระประธานประดิษฐานในพระมณฑปแห่งใหม่ของวัดพระพุทธบาทบัวบก เป็นพระพุทธบาทรูปนาคปรกปางสมาธิ ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันว่า “พระพุทธพัฒน์ปทุมสกลอุดรธานี”

กำหนดงาน วันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 4 ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

กิจกรรม มีลักษณะพิธีกรรมเหมือนงานวัดสำคัญในท้องถิ่นทั่วไป คือ เมื่อใกล้วันกำหนดงานชาวบ้านจะชวนกันเดินทางด้วยเท้าขึ้นไปจนถึงวัด โดยเชื่อว่าได้อานิสงส์แรง มีการทำบุญและเวียนเทียน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 มีการออกร้านจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม และที่สำคัญ นอกจากได้มาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพบูชาแล้ว ผู้ที่มาถึงสถานที่แห่งนี้ยังปรารถนาที่จะเดินเท้าไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทที่สวยงาม และมีเรื่องราวจากตำนานพื้นบ้านเรื่อง อุษาบารส

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.