เที่ยวดอยอ่างขาง ที่พักดอยอ่างขาง สถานที่ท่องเที่ยวดอยอ่างขางแผนที่ดอยอ่างขาง

เที่ยวดอยอ่างขาง ที่พักดอยอ่างขาง สถานที่ท่องเที่ยวดอยอ่างขางแผนที่ดอยอ่างขาง
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
กรีนเลค รีสอร์ท
กรีนเลค รีสอร์ท ตั้งอยู่ริมทะเลสาบที่งดงามดั่งมรกตล้ำค่าแห่งเมืองเชียงใหม่ จากรี ...
แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี
แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี ตั้งอยู่ท่ามกลางทัศนียภาพธรรมชาติอันหรูหราในพื้นที ...
เดอะ เชดี เชียงใหม่
เดอะ เจดีย์ เชียงใหม่ เป็นโรงแรมคุณภาพระดับ 5 ดาว เป็นหนึ่งในโรงแรมที่มีทำเลดีที ...
บุรี แกลเลอรี่ เฮ้าส์
บุรี แกลเลอรี่ เฮ้าส์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นโรงแรมที่ให้ความรู้สึกหรู ...
ชีวี วนา บูติค รีสอร์ท แอนด์ สปา
ชีวี วนา บูติค รีสอร์ทแอนด์สปา เป็นบูติครีสอร์ท 18 ห้องในจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่ ...
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ซึ่งดอยเชียงดาวมียอดสูงสุด เ ...
น้ำตกโป่งน้ำดัง
น้ำตกโป่งน้ำดัง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็ก ...
บ่อน้ำร้อนฝาง
บ่อน้ำร้อนฝาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง น้ำมีอุณหภูมิสูงถึง 90-13 ...
ดอยผาหลวง ผ้าห่มปก
ดอยผาหลวง ผ้าห่มปก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใ ...
ถ้ำห้วยบอน
ถ้ำห้วยบอน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปกับเพื่อนหรือท่องเที่ยวแบบครอบครัวก็ได้ เ ...
Rating : 8/10
9105
โทรศัพท์ :
(053) 278332, 278204
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
 ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่

ดอยอ่างขาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผล ที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา

ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่

บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกม.ที่ 137  จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดท่าคา เข้าไปอีกประมาณ 26 กม. เป็นทางลาดยาง สูงชันและคดเคี้ยวต้องใช้รถสภาพดี และมีกำลังสูง คนขับชำนาญ สามารถเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดท่าคา ดอยอ่างขางเป็นที่ ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผล ที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่าง ๆ ฯลฯ สวนสมุนไพร แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่าย และสหกรณ์ของโครงการฯ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังมี "สวนบอนไซ" ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาว ทั้งในและต่างประเทศ จัดปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม

ในสถานีฯ มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดและจองที่พักล่วงหน้า ที่สำนักงานโครงการหลวง โทร. (053) 278332, 278204 นอกจากนี้ บริเวณหน้าทางเข้าโครงการ ยังมีที่พักของเอกชนเปิดบริการด้วย

ประวัติโครงการหลวงจากการ เสด็จแปรพระราชฐานมายัง พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศนจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเยี่ยมเยือนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎรชาวไทยภูเขาที่ยังนิยมปลูกฝิ่นเพื่อหารายได้ยังชีพพระองค์ทรงรับทราบถึงปัญหาดังกล่าวที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติสืบเนื่องมาจากความทุกข์ยากของราษฎร และการขาดแคลนที่ดินทำกินขาดความรู้ในด้านการเกษตร ตามที่ตลาดต้องการขาดความรู้ในการป้องกันรักษาที่ดินให้ เสื่อมโทรมอีกทั้งยังไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนยังขาดเส้นทางคมนาคม ที่จะสามารถส่งผลผลิตสู่ตลาดและยังด้อยความรู้ในด้านการตลาด จากที่กล่าวมากนี้ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยเพื่อหาที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ เราจึงต้องสูญเสีย ป่าไม้และทรัพยากรไปเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้ง “โครงการหลวง” ขึ้น เพื่อช่วยประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆ เพื่อเร่งรัดดำเนินการ แก้ไข ปัญหาชาวเขาอย่างรีบด่วนโดยมี มจ.ภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ และนำมาปฏิบัติ โดยดำรงตำแหน่ง องค์อำนวยการโครงการฯ ซึ่งมีชื่อเรียกโครงการนี้ในสมัยเริ่มงานครั้งแรกว่า “โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา” หรือ “โครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ ” ส่วนคณะผู้ทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่อาสาสมัครออกไปทำการส่งเสริมช่วยเหลือชาวไทยภูเขาในวันหยุดราชการ หรือวันอาทิตย์ จะเรียกงานนี้ว่า “โครงการเกษตรหลวงในพระบรมราชานุเคราะห์” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็น “โครงการหลวง” โครงการหลวง มีงานหลักเพื่อสนองพระราชดำริ 4 ขั้นตอน คือ งานวิจัย งานส่งเสริม งานพัฒนาที่ดิน งานพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคม กรมพัฒนาที่ดินได้เข้ามาร่วมอย่างจริงจัง ในปี 2519 โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เสด็จ พระราชดำเนินไปที่บ้านทุ่งเรา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ และทรงมีพระราชดำริ “พื้นที่นี้สมควรที่จะเข้าทำการพัฒนาและจัดที่ดินให้ราษฎรและชาวเขาเข้าทำกินเป็นหลัก แหล่งถาวร”โดยขอให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมดำเนินงาน พัฒนาที่ดินซึ่งรับผิดชอบงานพัฒนาที่ดิน จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่จาก กองบริรักษ์ที่ดิน กองสำรวจดิน กองสำรวจดิน กองจำแนกที่ดิน ทั้งนี้โดยใช้งบประมาณจากกองบริรักษ์ที่ดินเป็นบางส่วน และรับเงินสมทบจากโครงการอีกจำนวนหนึ่งในปี พ.ศ. 2522 กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีงบประมาณเพื่อดำเนินการ โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โครงการพัฒนาที่ดินชาวเขาเป็นของโครงการเอง โดย มจ. ภีศเดช รัชนี องค์อำนวยการโครงการหลวง ได้ทำหนังสือถึงสำนักงบประมาณ ขอให้สนับสนุนโครงการหลวง โดยจัดงบประมาณให้แก่โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน เป็นการเฉพาะดังนั้นโครงการจึงเริ่มได้รับงบประมาณ และเครื่องจักรกลจากรัฐบาลมาเพื่อปฏิบัติงานสนองพระราชดำริให้ลุล่วงไปด้วยดี

ในปี พ.ศ. 2527 โครงการหลวงพัฒนาที่ดิน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ฝ่ายปฏิบัติการโครงการหลวง ภาคเหนือ” สังกัดสำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 6 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมีลักษณะการดำเนินงานเรียกว่า “ขอจัดพัฒนาที่ดิน” ในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือป่าที่ถูกทำลาย เนื่องจากที่ดินบนภูเขาเป็นของรัฐบาล แต่กรมป่าไม้มีหน้าที่ดูแลรักษาเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและบุกรุกที่ทำกิน โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับกรมป่าไม้ต่าง ๆ คุ้มครองอยู่ดังนั้นจึงต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เพื่อให้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการเกษตร และจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 กรมพัฒนาที่ดินได้มีคำสั่งยกฐานะฝ่ายปฏิบัติการโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ขึ้นเป็น “สำนักงานพัฒนาที่ดินที่สูง” และในปี พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยนเป็น “ศูนย์ปฏิบัติการโครงการหลวงภาคเหนือ” เพื่อมุ่งเน้นการปฏิบัติงานพัฒนาพื้นที่สูงในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ของมูลนิธโครงการหลวง เป็นต้นมา และในวันที่ 10 กันยายน 2547 ผู้ร่วมปฏิบัติงานโครงการหลวงหลายหน่วยงานมีความเห็นว่าชื่อ “ศูนย์ปฏิบัติการโครงการหลวงภาคเหนือ” ไม่ได้สื่อภารกิจที่ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ จึงได้ขออนุมัติกรมพัฒนาที่ดินเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาทีดินโครงการหลวง” โดยใช้ตัวย่อว่า “ศพล.”

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.