ประเพณีตานก๋วยสลาก ท่องเที่ยวไทย จังหวัดน่าน

ประเพณีตานก๋วยสลาก  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดน่าน
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
อุ่นไอมาง โฮมสเตย์
อุ่นไอมาง โฮมสเตย์ สำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ แนะนำให้ลองแวะไปเที่ยวอำเภอเล็กๆ อย่า ...
ภูผาน่าน รีสอร์ท
ภูผาน่านรีสอร์ท จังหวัด น่าน ห่างจากตัวเมืองน่าน 30 นาที รีสอร์ทวิวสวยบนเนินเขา ...
โรงแรม แสงอรุณ
โรงแรม แสงอรุณ ให้บริการห้องพักสะดวกสบาย และสะอาดพร้อมทั้งเครื่องปรับอากาศ อยู่ห ...
ซิตี้ ปาร์ค
โรงแรมซิตี้ ปาร์ค อยู่ในทำเลที่เงียบสงบ เพียง 5 นาทีจากตัวเมือง และ 15 นาทีจากสน ...
เพิ่มพูน 2
โรงแรมเพิ่มพูน 2 อยู่ห่างออกไปด้วยการขับรถยนต์ 5 นาที โรงแรมอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ ...
วัดพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น ...
วัดมิ่งเมือง
วัดมิ่งเมือง สถานที่สำคัญทางศาสนา ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ล ...
วัดพระธาตุเขาน้อย
วัดพระธาตุเขาน้อย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐ ...
วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑส ...
วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอย่างยิ่ง อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจา ...
Rating : 9/10
14699
ช่วงเวลา :
กันยายน 2555 - พฤศจิกายน 2555
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
 ประเพณีตานก๋วยสลาก
ประเพณีตานก๋วยสลาก จังหวัดน่าน

บรรยากาศของ “เมืองเหนือ” ชาวเมืองยังคงยึดถือวัฒนธรรม “แบบล้านนา” ทั้งทางด้านการแต่งกาย ภาษาพูด และขนมธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีทั้งที่มาจากความเชื่อในลัทธิถือเจ้าถือผี

ร่วมงาน ประเพณีตานก๋วยสลาก จังหวัดน่าน

บรรยากาศของ “เมืองเหนือ” ชาวเมืองยังคงยึดถือวัฒนธรรม “แบบล้านนา” ทั้งทางด้านการแต่งกาย ภาษาพูด และขนมธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีทั้งที่มาจากความเชื่อในลัทธิถือเจ้าถือผี เช่น การส่งเคราะห์ ส่งหาบส่งกอน ส่งปู่แถนย่าแถน สืบชะตาคน สืบชะตาข้าว สืบชะตาควาย (หลังสิ้นสุดการทำงาน) ประเพณีสงกรานต์ และความเชื่อในพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพุทธศาสนา รวมไปถึงประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีถวายสลากภัตของภาคกลาง

ประวัติความเป็นมาของประเพณีตานก๋วยสลาก

มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่า มีนางยักษิณีตนหนึ่งรู้ฤกษ์ยามเป็นอันดี ปีไหนฝนดีนางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาในที่ดอน ปีไหลฝนไม่ดี นางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาทำไร่ในที่ลุ่ม ชาวเมืองได้อาศัยนางยักษิณีทำมาหากินจำเริญวัฒนาไม่มีความเสียหาย เมื่อชาวเมืองรำลึกถึงอุปการะของนางถึงต่างพากันนำเครื่องสักการะไปให้นาง เป็นอันมาก นางจึงนำเอาเครื่องสักการะเหล่านั้นถวายเป็นสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนบัดนี้

ความหมายของประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก หมายถึง ประเพณีถวายทานสลากภัต เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแก่พระพระสงฆ์วิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมของชาวเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มใน วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ (กันยายน) ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกายน) เมื่อทางวัดและชาวบ้านตกลงกันว่าจะจัดให้มีการกินสลาก

ก่อนวันตานก๋วยสลาก ชาวบ้านจะจัดทำพิธีเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน 1 วัน เรียกวันที่เตรียมของนี้ว่า “วันดา” ชาวบ้านจะจัดเครื่องไทยทานลงใน “ก๋วย” เป็นตระกร้าหรือชะลอมขนาดเล็กที่สานด้วยไม้ไผ่) เรียกว่า “ก๋วยสลาก” แล้วนำของไทยทานจำพวกข้าวสารอาหารแห้งบรรจุลงไป บางวัด จะจัดเครื่องไทยทานลงในหม้อดินเผา แต่ในปัจจุบันก็อาจจะมีการดัดแปลงจาก “ก๋วยสลาก” มาเป็น “ถังพลาสติก” บรรจุเครื่องไทยทานเหมือนกับที่เรานิยมใช้กันทั่วไป นอกจากนี้อาจจะมีการตกแต่งเครื่องไทยทานเป็นต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สูงตามต้องการ นำไม้ไผ่เหลาและทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น 3 ชั้น , 5 ชั้น , 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น  แต่ละชั้นนำสิ่งของที่จะใช้เครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม ส่วนบนสุดจะนิยมนำร่มมาเสียบไว้ และใช้ธนบัตรผูกติดตามขอบร่มตามศรัทธาของเจ้าของกัณฑ์สลาก

วิธีการทำและการตกแต่งก๋วย ชะลอมสำหรับใส่ของที่จะถวายพระสงฆ์ มีลักษณะคล้ายชะลอมใส่ผลไม้ มีลำดับขั้นตอนในการทำและตกแต่งดังนี้

1. เอาไม้ไผ่มาสานเป็นชะลอม คล้าย ๆ ชะลอมใส่ผลไม้
2. นำใบตองมารองในก๋วย
3. นำเครื่องไทยทานใสก๋วย ดังนี้ ข้าวสารอาหารแห้ง ประกอบด้วย ข้าวสาร, กระเทียม, หอมแดง, เกลือ, ปลาร้า, ปลาแห้ง, ปลากระป๋อง, พริกแห้ง, น้ำปลาขนาดเล็ก, หมาก, พลู, กล้วย, อ้อย, ปูนแดง, ปูนขาว, ของคาวหวาน, บุหรี่ (ยาขึ่น), ไม้ขีด, ดอกไม้ธูปเทียน (สวยเตียน) เมื่อนำสิ่งของทั้งหมดใส่ในก๋วยแล้ว มัดปากก๋วยด้วยตอก แล้วนำเอาดอกไม้ธูปเทียน (สวยเตียน) เสียบไว้ข้างบน

ก๋วยสลากของแท้และดั้งเดิม การทำและแต่งต้นกัลปพฤกษ์

1. นำไม้ไผ่สูงตามต้องการทำเป็นเสาสลากของต้นกัลปพฤกษ์
2. นำไม้ไผ่เหลาเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น 3 ชั้น , 5 ชั้น , 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น แต่ส่วนมากนิยมทำเป็น 9 ชั้น
3. นำกระดาษย่นสีต่าง ๆ มาพันรอบเสาและชั้นของต้นกัลปพฤกษ์
4. แต่ละชั้นก็นำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม ปัจจุบันจะนิยมใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วุ้นเส้น ถ้วย จาน ขันน้ำ ขนม แปรงฟัน ยาสีฟัน กระดาษชำระ ผงซักฟอก สบู่ แก้วน้ำ แชมพูสระผม
5. ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู
6. ส่วนชั้นที่ 9 นำสบงมาติด
7. ส่วนชั้นที่ 1 นำเงินที่เป็นเหรียญมาห่อด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง แล้วนำมาห้อยไว้
8. แล้วนำร่มคันเล็กมาติดปลายยอดสุด แล้วยังมีการผูกธนบัตรไว้ที่ขอบร่มตามศรัทธา

การทำเส้นสลาก

เส้นสลากทำจากใบตาลหรือใบลาน แล้วเขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่  ล่วงลับและเทวดาทั้งหลาย และเส้นสลากจะมีการทำเครื่องหมายที่แตกต่างกันออกไป ในสลากอาจจะเขียนว่า “สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย....... นางสาว.......... ขอทานไว้กับตนตัวภายหน้า” อันหมายถึง ขอทำบุญไว้กับตนเอง “ผู้ข้า..............ขอทานไว้แก่ นาง.....  ขอหื้อเป็นสุขเป็นสุขเถิด” อันหมายถึงมอบการบุญนี้เป็นอานิสงส์แด่ผู้อื่น อย่างนี้เป็นต้น

พิธีกรรมในประเพณีตานก๋วยสลาก

เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลาก จะจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานเข้าวัดโดยขบวนแห่จะประกอบด้วยต้นสลาก ขบวนรถก๋วยสลาก แต่ละขบวนแห่จะมีการฟ้อนรำของศรัทธาชาวบ้านซึ่งจะมากันเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า ศรัทธาของหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านที่จัดประเพณีนี้ขึ้น และศรัทธาหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงาน

กัณฑ์สลากแต่ละกัณฑ์จะมีเส้นสลาก เขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับและเทวดาทั้งหลายและมี ชื่อเจ้าของกัณฑ์ เส้นสลากที่เขียนจะเขียนลงในแผ่นใบตาล หรือใบลาน หรือกระดาษแข็ง เท่าจำนวนของเครื่องไทยทาน และนำเส้นสลากไปกองรวมกันยังที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิหารหน้าพระประธาน กรรมการจะจัดแบ่งสลากออกเป็นกอง ๆ ตาจำนวนที่ พระภิกษุ สามเณร ที่นิมนต์มาร่วมพิธีและจัดแบ่งให้พระประธานด้วย ถือว่าเป็นตัวแทนของ พระพุทธเจ้า

ถ้ามีสลากจำนวนมาก พระภิกษุจะได้รับ 20 เส้น สามเณรได้ 10 เส้น เส้นที่เหลือสมทบถวายพระประธาน เมื่อเสร็จจากการแบ่งเส้นสลาก คณะกรรมการจะนำเส้นสลากที่แบ่งแล้วจำนวน 1 มัด ไปประเคนพระผู้อาวุโส ซึ่งเป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นกรรมการจึงนำเส้นสลากไปถวายพระเณรตามลำดับ

เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันไปนั่ง ณ ที่จัดไว้ให้ชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลากต่างพากันตามหาเส้นสลากของตนที่อยู่ใน มือของพระภิกษุสามเณร เมื่อพบแล้ว  พระภิกษุสามเณรอ่านเส้นสลากแล้วจึงถวายของ เมื่อรับพรเสร็จรับเส้นสลากของตนไปเผา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ตายเป็นเสร็จพิธี

สำหรับเครื่องไทยทานที่จัดทำเป็นต้นกัลปพฤกษ์ เจ้าของต้องนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรที่ได้เส้นสลากไปยังที่ตั้งของเครื่อง ไทยทานเพื่อถวาย

บางครั้งกัณฑ์สลากจัดทำเป็นหุ่นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ขนาดใกล้เคียงของจริงทำด้วยหุ่นโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยผ้า ทาสีสันให้เหมือนสัตว์จริง การถวายมีลักษณะเช่นเดียวกับกัณฑ์สลากอื่น ๆ

การกินสลากนิยมจัดหลังจากการออกพรรษา ประเพณีตานก๋วยสลากบางหมู่บ้านจะจัดมีทุกปี บางหมู่บ้านอาจจัดเว้นปี หรือ 3 ปี จัดครั้งหนึ่ง หรือ 4 ปี หรือ 5 ปี ต่อครั้ง เพราะเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำกัณฑ์สลาก

การตานก๋วยสลากจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจของชุมชนและความสามัคคีร่วม แรงร่วมใจของชาวบ้าน การสืบสานประเพณีไทยและการจรรโลงพุทธศาสนา

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.