ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง ท่องเที่ยวไทย จังหวัดราชบุรี

ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดราชบุรี
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ...
โป่งยุบ
โป่งยุบ คือ มหัศจรรย์ทางธรรมชาติซึ่งหาชมได้ไม่มากนัก "โป่งยุบ" คือสภาพของแผ่น ...
พิพิธภัณฑ์ภโวทัย
พิพิธภัณฑ์ภโวทัย หรือ สวนภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่ง ...
Rating : 8.5/10
26497
ช่วงเวลา :
สิงหาคม - กันยายน ของทุกปี
 ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง
 ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง
 ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง
ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง จังหวัดราชบุรี

ประเพณีกินข้าวห่อมีการจัดพิธีขวัญข้อมือ กินข้าวห่อ ชมการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน พิธียกเสาหงส์ และผูกผ้าสีให้เสาหลักบ้าน สถานที่จัด บ้านโป่งกระทิงบน อ.บ้านคา

ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง ราชบุรี

ประเพณีกินข้าวห่อ หรือ อั้งหมี่ถ่อง เป็นพิธีสู่ขวัญจัดขึ้นในช่วงเดือนเก้า ชาวกะเหรี่ยงถือว่าเดือนเก้าเป็นเดือนไม่ดี บรรดาวิญญาณชั่วร้ายจะออกหากินและกิน “ ขวัญ ” ทำให้เจ็บป่วยหรืออาจถึงแก่ชีวิต พิธีนี้นิยมจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ แต่ถ้าบางบ้านไม่สะดวกก็เปลี่ยนเป็นวันอื่นก็ได้ในเดือนเก้า ในพิธีมีการ “ ต้มข้าวห่อ” เลี้ยง ข้าวห่อคือ ข้าวเหนียวห่อเป็นกรวย แล้วนำมาต้มให้สุกคล้ายขนมจ้าง สมัยก่อนเวลารับประทานใช้จิ้มน้ำผึ้ง ปัจจุบันใช้จิ้มมะพร้าวขูด ในวันต้มข้าวห่อนี้จะมีพิธีสู่ขวัญด้วย เริ่มด้วยการเคาะไม้เป่าแคน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะใช้เชือกแดงผูกข้อมือให้ลูกหลานเพื่อความเป็นสิริมงคล

ความเป็นมาของเทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ บ้านโป่งกระทิงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อบ้านกะเหรี่ยงว่า “บ้านกุ่ยโน่” ต่อมามีการติดต่อกับชาวไทยมากขึ้น จึงเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “บ้านบนเขา” เมื่อทางการ ได้เข้ามาพัฒนาโดย นพค. และ กรป.กลาง ได้พบเห็นกระทิงมากินดินโป่งอยู่บ่อย ๆ จึงเรียกว่า “โป่งกระทิง” แต่เนื่องจากมี 2 หมู่บ้านติดต่อกัน จึงเรียนกว่า “บ้านทิ่ยโท” ซึ่งเข้าถึงกันก่อนเรียกว่า “โป่งกระทิงล่าง” และเรียกอีกหมู่บ้านบนเขาว่า “โป่งกระทิงบน”

ปัจจุบันบ้านโป่งกระทิงบนยังมีประชากรชาวกะเหรี่ยงหรือชาวไทยตะนาวศรีเกือบ 50% และยังรักษาประเพณีที่ร่วมใจกันสืบทอดของชาวกะเหรี่ยงในเขต ราชบุรี –เพชรบุรี คือ เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นการรวมญาติมาพบปะสร้างสรรค์มีการทำพิธีเรียกขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคน

พิธียกเสาหงส์ เสาหงส์ ชาวกะเหรี่ยงพุทธในสมัยก่อนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่หาโอกาสเข้าศึกษา บทเรียนได้ยาก เพราะเป็นชาวป่า ชาวดงไม่เหมือนคนไทยหรือคนมอญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในศาสนา ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า “หงส์” เป็นนกแห่งสวรรค์สามารถเป็นสื่อนำความดี และนำความดีที่ชาวกะเหรี่ยงทำไปบอกกล่าวให้พระพุทธเจ้าได้รับทราบ เพื่อจะได้นำพระธรรมคำสอนที่บริสุทธ์ มาให้ ชาวกะเหรี่ยงได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไป ด้วยการยึดหลักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด จะมีเจดีย์หรือเสาหลักบ้านเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และมีเสาหงส์เคียงคู่เพื่อใช้ทำพิธีประกอบในวันสำคัญทางศาสนาอั้งหมี่ถ่อง ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยงโปหรือกะเหรี่ยงโพลง หรือชาวไทยตะนาวศรี เป็นกลุ่มที่อาศัยตามแนวชาวแดนด้าตะวันตกของจังหวัดราชบุรี – เพชรบุรี

จังหวัดราชบุรีจะอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มมายาวนานประเพณีกินข้าวห่อ หรืออั้งหมี่ถ่อง เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับขวัญประจำตัวของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญ ประจำของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำตัวเป็นสิริมงคลแก่ตัว หากใครที่ขวัญหายไม่อยู่กับตัว อาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ ดังนั้นแต่ละปีชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีเรียกขวัญผูกข้อมือกินข้าวห่อขึ้น

ประเพณีกินข้าวห่อจะจัดในเดือน 9 ของทุกปี แต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นไม่ตรงกันทำให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงสามารถไปมาหา สู่ร่วมกิจกรรมกันได้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เดือน 9 หรือ “หล่าคอก” เป็นเดือนที่ไม่ดี เพราะบรรดาวิญญาณชั่วจะกิน “ขวัญ” ของคนที่เร่ร่อนไม่อยู่กับเนื้อกับตัวทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วยได้ก่อนถึงวันงาน 3 วัน ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ เช่น ใบผาก ใบตอง และข้าวเหนียวและเริ่มห่อข้าวเหนียวห่อด้วยใบผากหรือใบตองแล้ว แช่น้ำทิ้งไว้ ในวันสุกดิบจะมีการต้มข้าวทั้งหมดให้เสร็จ พร้อมทั้งเคี่ยวน้ำกะทิและเตรียมอุปกรณ์เซ่นไหว้ในตอนหัวค่ำของวันนี้ จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันได้ ให้เกิดเสียงดังเพื่อเป็นขวัญที่อยู่ไกล ๆ ได้รับรู้และจะได้เดินทางกลับมาในคืนนี้ประตูหน้าต่างของทุกบ้านจะเปิดเอา ไว้ เพื่อให้ขวัญที่เดินทางกลับมาเข้าบ้านได้ก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันไดอีกครั้งเพื่อเรียกขวัญที่อยู่ไกลบ้านยังเดินทางมาไม่ถึงให้รีบมา จากนั้นผู้เฒ่าประจำบ้านจำนำเครื่องรับขวัญที่ประกอบด้วย ข้าวห่อครูหรือข้าวห่อพวง กล้วยน้ำว้า อ้อย ยอดดาวเรือง เทียน สร้อยเงิน กำไรเงินและด้ายแดง มาทำพิธีเรียกขวัญ โดยจะไล่ผู้อาวุโสสูงสุด และรองไปตามลำดับในครอบครัว ซึ่งช่วงนี้ลูกหลานที่ไปอยู่ที่อื่นจะได้รู้จักกันว่าใครคือ พี่ ป้า น้า อา หรือน้อง ทำให้เกิดความรักความเกรงใจและความสามัคคีในกลุ่ม

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.