ประเพณีไหลเรือไฟ ท่องเที่ยวไทย จังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีไหลเรือไฟ  ท่องเที่ยวไทย จังหวัดอุบลราชธานี
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
สาวิตรีเพลส
Sawitree Place Ubon เป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมในการสำรวจเมืองอันมีชีวิตชีวาแห่ง ...
บ้านไม้งามบูติก
ในย่านการออกไปลิ้มชิมรสอาหาร, การเที่ยวชมทิวทัศน์, กิจกรรมทางวัฒนธรรมของ อุบลราช ...
ชลพรรณเพลส
ด้วยที่ตั้งในทำเลทองของ อุบลราชธานี Chonlapan Place นำเสนอทุกความน่าสนใจของเมือง ...
แสงทอง
โรงแรมแสงทอง เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางที่ดีเยี่ยมใน อุบลราชธานี ด้วยทำเลที่ตั้งอ ...
สุพรเลควิว
สุพร เลควิว เซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ แอนท์ โฮมสเตย์เป็นสถานที่พักอันลงตัวสำหรับนักท่ ...
Rating : 9/10
13223
ช่วงเวลา :
ตุลาคม ของทุกปี
 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประเพณีไหลเรือไฟ
 ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดอุบลราชธานี

งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือเฮือไฟจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา บริเวณเชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล–ชี แม่

ประเพณีไหลเรือไฟ อุบลราชธานี

ประวัติความเป็นมา งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล–ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟในภาคอีสานเริ่มต้นครั้งแรก เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียสมัยที่นำอารยธรรม เข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ พบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้นในภาคอีสานมักผูกพันกับเรื่อง ของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า “ ไฟ ” เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรองจากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญ สิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้ จังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ มักจัดขึ้น คล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อ จังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อว่า
- เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
- เป็นการบูชาพระรัตนตรัยและพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ อันได้แก่ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคนโม และพระอาริยเมตไตรย
- เป็นการบูชาคุณแม่โพสพ คือ บูชาพานข้าว
- เป็นการบูชาประทีปตามประเพณี
- เป็นการบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ

ในความเชื่อเรื่อง การบูชาบรรพบุรุษ หรือพกาพรหม ปรากฏตามนิทานชาวบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีกาเผือกสองผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้กับ ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บิน จากรังไปหากินเผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ จึงบินกระเจิดกระเจิงหายไป กาตัวเมียที่กำลังกกไข่อยู่ 5 ฟอง จึงเสียใจจนตายไป และไปเกิดใหม่ในพรหมโลก ชื่อท้าวพกาพรหม

ส่วนไข่ทั้ง 5 ฟอง มีผู้นำไปรักษาไว้ดังนี้ ฟองแรกแม่ไก่เอาไป ฟองที่ 2 แม่นาคเอาไป ฟองที่ 3 แม่เต่าเอาไป ฟองที่ 4 แม่โคเอาไป และฟองสุดท้ายแม่ราชสีห์เอาไป ครั้นเมื่อไข่ครบกำหนดฟักแตก ออกมากลับเป็นมนุษย์ไม่ใช่ลูกกาตามปกติ ครั้นเมื่อทั้ง 5 โตเป็นหนุ่มเห็นโทษของการเป็นฆราวาสและ เห็นถึงอานิสงส์แห่งการบรรพชา จึงได้ลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 ได้มาพบกันจึงได้ไต่ถามเรื่องราวของกันและกัน และพร้อมใจกันอธิษฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็นองค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงมารดาด้วยแรงอธิษฐานครั้งนั้นได้ร้อนไปถึง ท้าวพกาพรหมต้องเสด็จ จากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือกบินมาเกาะบนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง 5 และเล่าเรื่องเดิมให้ฟังและ กล่าวว่า “ถ้าคิดถึงแม่ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 11 และเดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้ตีนกาปักธูปเทียนบูชา ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่า " คิดถึงแม่ " เมื่อบอกเสร็จท้าวพกาพรหมก็ลากลับไปจน กลายมาเป็นที่มาของการลอยกระทงและไหลเรือไฟ

กำหนดงาน จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

กิจกรรม การทำเรือไฟในอดีตนั้น ทำด้วยไม้ไผ่และต้นกล้วย ยาวเพียง 5-6 วาเท่านั้น ความสูงไม่เกิน 1 เมตร และเป็นรูปเรือธรรมดา ทำราวไว้สองข้าง เพื่อวางขี้กะไต้ ตะเกียง หรือโคมไฟ มีการจัด ข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนย ฝ้ายไน ไหมหลอด เสื่อผืน บรรจุไว้ข้างใน พอเวลาประมาณ 5 โมงเย็นจะเริ่ม ทำพิธีโดย นิมนต์พระมาสวดและหลังการรับศีล ฟังเทศน์ ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จึงให้ญาติโยมตกแต่งเรือด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน ที่ถือไปบำเพ็ญกุศลนั่นเอง พอย่ำค่ำก็นำเรือไฟออกไปกลางแม่น้ำโขง แล้วจุดไฟ ปล่อยให้เรือไหลไปตามลำน้ำส่งแสงระยิบตาเลยทีเดียว ต่อมาการทำเรือไฟมีวิธีตกแต่งให้วิจิตรพิสดาร มากยิ่งขึ้นรู้จักนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบทำให้สามารถดัดแปลง เรือไฟให้มีรูปร่างแปลก ตาออกไปอีก ทั้งพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดจะเตรียมจัดทำเรือไฟไว้ล่วงหน้าหลายวัน โดย นำเอาต้นกล้วยทั้งต้นมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว หลายวา วางขนานกันสองแถว กว้างห่างกันพอประมาณ แล้วนำไม้ไผ่เรียวยาวมาผูกไขว้กันเป็นตาราง สี่เหลี่ยมมีระยะห่างกันคืบเศษวางราบพื้น มัดด้วยลวดให้ แน่นและแข็งแรง เพื่อรอการออกแบบภาพบนแผงผู้ออกแบบแสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างสวยงามที่สุด เช่น ประดิษฐ์เป็นเรื่องราวตามพระพุทธประวัติหรือสัตว์ในตำนานบ้างเป็นพญานาค ครุฑ หงส์ เป็นต้น แล้วนำไปปักติดเป็นเสาบนแพหยวกกล้วย ในอดีตเชื้อเพลิงที่ใช้จุดไฟนั้นใช้น้ำมันยาง ตระบอกขี้ผึ้ง สีน้ำมันพร้าว, น้ำมันสน, น้ำมันยางที่เจาะสกัดจากต้นยาง ตะแบกชาด แล้วเอาไฟลนไม้ให้น้ำมันไหล ออกมา แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันดีเซล บรรจุในขวดน้ำดื่มต่าง ๆ แล้วนำมาแขวนตาม โครงเรือ ซึ่งต้องอาศัยการคำนวณที่แม่นยำ เพราะถ้าติดกันมากเกินไปจะทำให้เรือไหม้ไฟ ส่วนโครงเรือ เป็นไม้มีขนาดใหญ่และเน้นความวิจิตรตระการตา เมื่อปล่อยเรือไฟลงน้ำโขงแล้ว จะมีความวิจิตรตระการ ตาสว่างไสวไปทั่วริมฝั่งแม่น้ำโขง อวดโฉมระยิบระยับ มีฉากหลังเป็นสีดำจากท้องฟ้าในยามค่ำคืน และ แสงที่สะท้องจากท้องน้ำเพิ่มความงดงามมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะมีการไหลเรือไฟ ในช่วงเช้าจะประกอบการ กุศลด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร และเลี้ยงดูกัน ตกตอนบ่ายก็ตกแต่งเรือ และมีการเล่นสนุก สนานต่างๆ ตอนเย็นมีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ พอตอนค่ำระหว่าง 19.00-20.00 น. จึงนำเรือออก ไปลงน้ำและพิธีไหลเรือไฟก็เริ่มขึ้น

งานประเพณีไหลเรือไฟของชาวอุบลฯ ได้ถือกำเนิดขึ้นจากบุคคล สำคัญ 3 คน คือ
1. นายคูณ ส่งศรี อายุ 73 ปี ถึงแก่กรรม 2490
2. นายโพธิ์ ส่งศรี อายุ 94 ปี ถึงแก่กรรม 2523
3. นายดวง ส่งศรี อายุ 83 ปี ถึงแก่กรรม 2516

ท่านทั้ง 3 เป็นพี่น้องกัน เป็นศรัทธาวัดทุ่งศรีเมือง ได้ประกอบพิธีไหลเรือไฟ โดยเอาถังประทีปที่ชาวบ้าน มาจุดบูชาที่วัดลอยที่แม่น้ำมูลในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ต่อมาได้พัฒนาจากถังประทีปมาเป็นเรืออย่าง เช่นที่อื่น ๆ และมาในช่วงที่ทหารอเมริกันมาประจำที่ฐานบิน จังหวัดอุบลฯในระหว่างปี 2507 เป็นต้นมา มีการใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ทำทุ่นและใช้ไม้ไผ่เป็นลำมาติดถึงที่เคยเป็นรูปเรือก็ปรากฏเป็นรูปอื่น

ข้อความ *

รูป
นามสกุล .jpg, .gif, .png ขนาด์ไม่เกิน 100 KB, กว้างไม่เกิน 600 pixel
ชื่อที่ใช้แสดง *
Email
แจ้งทาง Email เมื่อมีคนมา comment (Email จะถูกเก็บเป็นความลับ)
ส่งข้อความ ยกเลิก
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ HotelDirect.in.th ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ info@HotelDirect.in.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.