เที่ยวสะพานรัษฎาภิเศก ที่พักสะพานรัษฎาภิเศก สถานที่ท่องเที่ยวสะพานรัษฎาภิเศกแผนที่สะพานรัษฎาภิเศก

เที่ยวสะพานรัษฎาภิเศก ที่พักสะพานรัษฎาภิเศก สถานที่ท่องเที่ยวสะพานรัษฎาภิเศกแผนที่สะพานรัษฎาภิเศก
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
ทิพย์ช้าง ลำปาง
โรงแรมทิพย์ ช้างลำปาง (Tipchang Lampang Hotel) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำปาง แวดล้อม ...
ลำปาง ริเวอร์ ล็อดจ์
ลำปาง ริเวอร์ ล็อดจ์ Lampang River Lodge มาสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติ ท่ามกลางแม่น้ำ ...
ลำปาง เวียงทอง
โรงแรม ลำปาง เวียงทอง (Lampang Wiengthong Hotel) โรงแรมระดับ 3 ดาว ตั้งอยู่ที่ซิ ...
อินเตอร์โซน ลำปาง
อินเตอร์โซน ลำปาง (Interzone) มีห้องพักสะอาด พร้อมอยู่ขนาด 75 ห้อง ตั้งอยู่บนพื้ ...
เอื้องคำ รีสอร์ท
เอื้องคำ รีสอร์ท (Auangkham Resort) ได้รับการออกแบบทั้งเพื่อธุรกิจและเพื่อการพัก ...
กาดกองต้า
กาดกองต้า ตลาดโบราณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง ถือเป ...
บ้านเสานัก
บ้านเสานัก บ้านไม้โบราณ 100 ปี เป็นชื่อภาษาเมืองหมายถึงบ้านที่มีเสาจำนวนมาก บ้าน ...
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม ยังเป็นผู้บุกเบิกงานด้านก ...
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย เป็นสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ ซึ่งรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ...
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั ...
Rating : 8.5/10
7961
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
 สะพานรัษฎาภิเศก
สะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง

สะพานรัษฎาภิเศก เป็นสถานที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่ เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ที่บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน

เที่ยว สะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ใน ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง กล่าว กันว่า สะพานรัษฎาภิเศกรุ่นแรกนั้นเป็นสะพานไม้สร้างในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าของนครลำปางองค์สุดท้าย เพื่อเชื่อการปกรองแขวงหัวเวียง (สวนดอก) กับแขวงเวียงเหนือเข้าด้วยกัน โดยสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2436 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยทีเดียว คือยาวถึง 120 เมตร ชวนให้นึกถึงความกว้างอลังดารของแม่น้ำวังสมัยก่อน อีกทั้งเข้าใจด้ว่าชื่อรัษฎาภิเศกนี้มีที่มาจากการสร้างสะพานเพื่อ น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษกรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ท่านก็ได้พระราชทานนาม “รัษฎาภิเศก” ให้กับสะพานแห่งนี้

สะพานไม้รุ่นแรกพังลงในปี พ.ศ. 2444 เพราะทนแรงกระแทกจากท่อนซุงจำนวนมหาศาลยามน้ำหลากไม่ไหวเจ้าบุญวาทย์วงษ์ มานิตจึงต้องมีจดหมายไปถึงกระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทานเงินมาสร้างสะพานขึ้นใหม่เป็นรุ่นที่สอง ครั้งนี้สะพานรัษฎาภิเศกเป็นสะพานไม้เสริมเหล็ก ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสร้างเสร็จเมื่อใด มีก็แต่เพียงหลักฐานจากกรมโยธาธิการว่าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช เสด็จมาเปิดสะพานเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2448

อย่างไรก็ตาม สะพานรัษฎาภิเศกรุ่นที่สองก็พังลงอีกในปี พ.ศ. 2458 ด้วยประสบปัญหาแบบเดิม คือผุกร่อนไปตามกาลเวลา กอปรกับไม่อาจต้านทานซุงที่บ่าไหลมากับกระแสน้ำได้ วิศวกรกระทรวงคมนาคมที่ไปตรวจดูสะพานรัษฎาภิเศกพบว่าเดือยตัวไม้สำคัญของ สะพานผุเปื่อยจนไม่อาจซ่อมแซมได้ จึงมีการเสนอขึ้นไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ว่า “ควรทำอย่างแฟโรกอนกริตเสียทีเดียว” ซึ่งพระองค์ก็ทรงเห็นด้วยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่าสร้างด้วยคอนกรีตนั้นจะ มั่นคงถาวรในระยะยาวกว่า

การสร้างสะพานรุ่นที่สามเดินหน้าในปี พ.ศ. 2459 โดยมีพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้ควบคุมดำเนินการก่อสร้าง ใช้แรงงานคนในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริษัทและวิศวกรผู้ควบคุมเป็นของเยอรมนี

ในที่สุดสะพานรัษฎาภิเศกรุ่นที่สามก็สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2460 เป็นสะพานคอนกรีตสริมเหล็กทาสีขาวโดดเด่นสะดุดตาด้วยรูปทรงโค้งคันธนูรวม 4 โค้ง ตั้งขวางเต็มลำน้ำ ทั้งยังมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงความเป็นมาอยู่หลายประการ

เสาสี่ต้น ซึ่งตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละสองต้น เปรียบดังความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม

พวงมาลายอดเสา บนยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสาทั้งสี่ต้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ครุฑหลวงสีแดง ประดับอยู่กลางเสาด้านหน้าทุกต้น ทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บ่งบอกถึงตราสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินสยามสมัยรัชกาลที่ 6

ไก่หลวง หรือไก่ขาว ที่ประดับตรงกลางเสาด้านข้างทุกต้น ทั้งสองฝั่งหัวสะพาน คือสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง สื่อถึงสมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

คำว่า “มีนาคม 2460” กลางเสาด้านในทุกต้น ทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บอกถึงวันที่สะพานแล้วเสร็จ

คำว่า “สะพานรัษฎาภิเศก” ตรงกลางคานเชื่อมโค้งสะพานคู่แรกทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บ่งบอกถึงการได้รับพระราชทานนามนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สะพานรัษฎาภิเศกก็ยืนหยัดอยู่เหนือแม่น้ำวังอย่างมั่นคง พาตัวเองผ่านพ้นวิกฤตมาอย่างโชกโชน ทั้งเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่ท่อนซุงจำนวนมหาศาลทะยาไหลมากับสายน้ำเชี่ยวกราก ครั้นเมื่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตทรงตัดสินใจที่จะระเบิดสะพานทิ้ง ระดับน้ำก็กลับลดลงเรื่อยๆ

และอีกครั้งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี พ.ศ. 2485 – 2488 ครูลูซี สตาร์ลิง ผู้อำนวยการโรงเรียนวิชชานารี ในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขอยกเว้นการทำลายสะพานรัษฎาภิเศก โดยเธอให้เหตุผลว่าจุดนี้มีเพียงทหารญี่ปุ่นที่เป็นเสนารักษ์และเป็นย่านโรง พยาบาล ไม่มีผลทางยุทธศาสตร์ใดๆ สะพานรัษฎาภิเศกจึงรอดพ้นการทิ้งระเบิดมาได้ แต่ก็ยังโดนกระสุนปืนจากเครื่องบินอยู่บ้าง

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.