พัดใบตาล เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับชุมชนบ้านโนนมะงา ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการถ่ายทอดความรู้ในการทำพัดใบตาลไปยังนักเรียน เยาวชน สตรี เพื่อช่วยการสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใบตาล
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 28 บ้านโนนมะงา หมู่ 2 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ประธานกลุ่ม นายสงัด สายกระสุน
ประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณ 40 กว่าปีผ่านมา วิถีชีวิตของคนในชุมชนชนบทในสมัยก่อนที่นิยมนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้มา ได้ง่ายตามหัวไร่ ปลายนาไม่ต้องซื้อหา นำมาทำเป็นของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างเช่นใบตาล เป็นวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายชนิด เช่นใช้มุงหลังคากระท่อม ใช้ทำฝากระท่อม หมวก เป็นต้น เนื่องจากใบตาลมีคุณลักษณะของใบยาว หนา เรียบ ลื่น สามารถป้องกันแดดฝนได้เป็นอย่างดี
ชาวบ้านโนนมะงา เป็นอีกหนึ่งชุมชน ที่มีแนวคิดในการนำใบตาลมาทำเป็นเครื่องใช้ในชีวิติประจำวันเพื่อประหยัดราย จ่าย โดยนำใบตาลทำเป็นพัด เพื่อเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากมีอยู่ในท้องถิ่น จึงได้รวบรวมสมาชิกที่สนใจ มารวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพเสริมอย่างจริงจัง และจัดตั้งเป็นกลุ่มจักสานพัดใบตาล เมื่อวันที่14 สิงหาคม 2548 โดยมีนายสงัด สายกระสุน เป็นประธาน มีสมาชิก 10 คน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอสตึกและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สตึก ให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการผลิต การตลาด การจัดการทุน และการบริหารจัดการกลุ่ม และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อว่า“กลุ่มวิสหกิจชุมชนพัดใบตาล”
“พัดใบตาล” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับชุมชนบ้านโนนมะงา ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการถ่ายทอดความรู้ในการทำพัดใบตาลไปยังนักเรียน เยาวชน สตรี เพื่อช่วยการสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
- OTOP Product Champion ปี 2547 ระดับ 4 ดาว
- OTOP Product Champion ปี 2549 ระดับ 3 ดาว
- OTOP Product Champion ปี 2553 ระดับ 3 ดาว
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
พัดใบตาล เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่บ้านโนนมะงา ซึ่งเล็งเห็นในภูมิปัญญาของชาวบ้านและประโยชน์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทุกครัวเรือนมีรายได้จากการผลิตพัดใบตาล ออกจำหน่ายตลอดทั้งปี
วัตถุดิบ 1. ใบตาล 2. ลวด 3. ด้าย 4. สี 5. กระดาษทราย 6. ไม้ไผ่ 7.สว่านเจาะ
ขั้นตอนการผลิต
1. นำใบตาลตากให้แห้ง และไม้ไผ่มาประกบกันใช้ลวดมัดไว้
2. นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนๆแล้วผ่าเป็นซีกๆ ทำเป็นด้ามพัดเหลาไห้รูปทรงที่สวยงาม
3. ใช้สว่านเจาะไม้ไผ่เป็นรูแล้วนำใบตาลมาประกอบกับไม้ไผ่
4. ใช้สว่านเจาะไม้ไผ่เป็นรูแล้วนำใบตาลที่เตรียมไว้มาประกอบกับไม้ไผ่
5. นำยางยืดมารัดตัดปลายใบตาลให้เสมอกัน แล้วเหลาด้วยมีดให้ละเอียด และขัดด้วยกระดาษทราย
6. ตกแต่งลวดลาย เย็บตกแต่งด้วยเข็มและด้าย
เคล็ดลับในการผลิต การเลือกใบตาลถ้าใบตาลอ่อนจะได้สีขาว ถ้าใบแก่จะได้พัดสีเขียว
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัดใบตาล บ้านเลขที่ 36 บ้านโนนมะงา หมู่ที่ 2 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 ติดต่อ: นายสงัด สายกระสุน
2. งานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในจังหวัด
3. งานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าต่างจังหวัด
4. ตามงานมหกรรมของหน่วยงานราชการจัด