ผลิตภัณฑ์จากกระจูด มีลักษณะที่โดดเด่น คือ จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุท้องถิ่นซึ่งหาได้ในธรรมชาติ ย้อมสีตามต้องการ เน้นดอกและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของตลาด ฝีมือปราณีต รูปแบบสวยงามทันสมัย มีคุณภาพคงทน
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์กระจูด
สถานที่ผลิต 94 หมู่ที่ 2 บ้านทะเลน้อย ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ประธานกลุ่ม นางยินดี อรุณรัตน์
ประวัติความเป็นมา นานมาแล้ว ตำบลทะเลน้อยมีสภาพเป็นป่าดงดิบ พื้นที่บางแห่งเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังตลอดปีมีพืชพันธุ์ไม้นานาชนิดเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่สำคัญ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมงและทำนาเป็นหลัก ในยามว่างมีการจักสานเสื่อที่ทำด้วยกกไว้สำหรับใช้ในครัวเรือน
นางยินดี อรุณรัตน์ สมาชิกกลุ่มสตรีเล่าว่า ภูมิปัญญาในการจักสานนี้ สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย นับ 100 ปีมาแล้ว แต่ภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดที่เท่าสมารถบันทึกเป็นหลักฐานได้เริ่ม จากครอบครัว 3 พี่น้อง สกุล รักษ์จุล ประกอบด้วยนายกลับ- นางกลั่น นายจับ – นางคล้าย และนายลาภ -นางเลื่อน อพยพมาจากบ้านผาสุกตำบลแหลมตีน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มาตั้งรกรากในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย พร้อมทั้งนำภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดทำเป็นของใช้ในครัวเรือนเช่น เสื่อ กระสอบนอน กระสอบนั่ง โดยนำกระจูดมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชเนื่องจากของใช้ที่ทำด้วยกระจูดมีความนุ่มและสวยงาม กว่าของที่ทำจากกก ชาวบ้านในตำบลจึงหันมาจักสานกระจูดบ้างซึ่งมักจักสานเป็นเสื่อสำรับปู นั่ง นอน ชาวบ้านเรียกว่า สาด
นอกนี้ยังสานเป็นสอบหนาดใช้เป็นภาชนะใส่ถ่านและใช้สำหรับทารกแรกเกิดนอน และสานเป็นกระสอบนอนเพื่อใช้สำหรับใส่ข้าวสารและข้าวเปลือก เป็นต้น ก ชาวตำบลทะเลน้อยจึงเริ่มเก็บเกี่ยวกระจูดมาจักสาน ซึ่งแหล่งที่มีกระจูดมากที่สุด คือ พรุควนเคร็ง ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชในแต่ละวันจะเห็นเรือถ่อ เรือแจว จากตำบลทะเลน้อยมุ่งหน้าไปตัดกระจูที่พรุควนเคร็งนับร้อยลำ จนกระทั่งชาวตำบลเคร็ง ได้ห้ามตัดกระจูด เพราะทำให้โคนกระจูดเน่าและทำให้ต้นกระจูดตายแต่อนุญาตให้ถอนได้ กำนันสุก ทองพูลเอียด กำนันตำบลพนางตุงในสมัยนั้น ได้ชักชวนชาวบ้านไปขุดหัวกระจูดที่ตำบลเคร็งมาปลูกที่ทะเลน้อย แต่ชาวบ้านก็ยังคงเดินทางไปถอนกระจูดเรื่อยมาเนื่องจากมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช ได้แก่นกพริกซึ่งเป็นสัตว์สงวนมักเข้าทำลาย จิกถอนหัวอ่อนของกระจูด และในช่วงหน้าน้ำ น้ำมักท่วมพื้นที่ปลูกกระจูดทำให้หัวกระจูเน่าเปื่อย และตายในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ผู้ใหญ่คง อรุณรัตน์ ผู้ใหญ่ยกนวลแก้ว นายขาว ชูทอง และนายแคล้ว ทองนวล ผู้นำตำบลทะเลน้อย ได้ร่วมกันปลูกกระจูดอย่างจริงจังโดยนำหัวกระจูดจาดควนเคร็ง มาปลูกริมทะเลน้อยโดยรอบ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ชาวบ้านตำบลทะเลน้อยจึงหันมาจักสานกระจูดเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนกันแทบ ทุกครัวเรือนจนกระทั่งมีการซื้อขายกันทั้งในและนอกหมู่บ้าน ตำบล ทำให้เกิดรายได้เป็นกอบเป็นกำ ชาวบ้านจึงยึดการจักสานกระจูดเป็นอาชีพหลักตั้งแต่นั้นมา
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กระจูด จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุท้องถิ่นซึ่งหาได้ในธรรมชาติ ย้อมสีตามต้องการ เน้นดอกและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของตลาด ฝีมือปราณีต รูปแบบสวยงามทันสมัย มีคุณภาพคงทน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ กันมาจากบรรพบุรุษซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันธุ์เหมือนญาติพี่ น้องอย่างเหนียวแน่นประกอบกับการผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับ สภาพท้องถิ่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่าควรได้มีการบันทึกเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป นอกจากนี้ยังช่วยสร้างสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัวและในกลุ่มสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะทุกคนต่างช่วยกันถักสานกระจูดกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างต่อเนื่อง
วัตถุดิบ - กระจูด - สีที่ใช้ย้อมกระจูด – ลูกกลิ้ง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต - เครื่องรีดกระจูด ผ้ากุ๊ย - จักรเย็บ - สายวัด - บล็อกแบบต่างๆ - ซิป - สีเคมี - กระดุมไม้ - กาวลาเท็กซ์ - เชือกกกหรือเชือกกระจูด - กาวตราช้าง - หูไม้สำเร็จรูป - น้ำมันวานิช - ตอกกระจูด - แปรง - เอ็น - เข็มกรรไกร - ด้าย
ขั้นตอนการเก็บกกเพื่อใช้เป็นวัสดุจักสาน เริ่มจากการถอนต้นกกกระจูดในแหล่งน้ำ ที่โตเต็มที่แล้วอายุประมาณ 2-3 ปี คัดเลือกต้นกกให้ได้ขนาดและความยาวตามต้องการ นำต้นกกกระจูดที่ถอนได้ไปตัดหัวตัดท้ายให้ได้ขนาดซึ่งการถอนกระจูดโดยทั่วไป มักทำหลังช่วงฤดูฝนไปแล้วเพราะต้นกระจูดจะขึ้นสูงชะลูดและมีตอกบาสะดวกแก่ การนำไปทำให้แบน จะทำให้ตอกกระจูดไม่มีรอยแตกกระจูดที่ได้ในช่วงระยะนี้ ตอกจะมีความเหนียวนิ่ม ไม่เปราะบางหรือแตกง่าย
ล้างทำความสะอาด นำไปคลุกกับดินโคลนให้เปียกทั่วกันพอเกาะติดผิวกระจูดบางๆเพื่อป้องกันไม่ ให้กระจูดเหี่ยวหรือแตกหักง่ายเวลาผึ่งแดดช่วยให้กระจูดที่แห้งแล้วมีผิวนวล เพราะถ้าไม่นำกระจูดไปชุบน้ำดินโคลนก่อนเวลาตากแดดจะทำให้กระจูดมีสีออกแดงๆ และกรอบขาดง่าย การผึ่งแดด จะใช้วิธีตั้งกระจูดเป็นแนวดิ่งแล้วแผ่กระจูดกางเป็นฐานหรือวางเรียงกระจูด ให้กระจายบนพ้นที่เรียบๆ ถ้ามีแดดจัดๆจะใช้เวลาผึ่งแดดประมาณ 2 – 3 วัน จะทำให้กระจูดแห้งเร็วและนำมารวมกันเก็บไว้บริเวณใต้ถุนบ้านนำไปมัดเก็บรวม กัน เก็บไว้ในที่ร่ม เส้นกระจูดที่ได้จะมีคราบฝุ่นจากโคลนสีขาว ๆ ติดอยู่ตลอดทั้งเส้น
กระจูดที่แห้งดีแล้วนำมาทุบให้ต้นกระจูดเป็นเส้นแบนๆ โดยใช้วิธีเอากระจูดไปวางบนพื้นเรียบๆที่เตรียมไว้และใช้ไม้ที่เรียก ว่า“สาก” ทุบตำหรือทิ่ม จนกระทั่งกระจูดบนเรียบหมดทุกตอกเสร็จแล้วจะลอกกาบของต้นกระจูดทิ้ง หรืออีกวิธีหนึ่งของการทำให้ตอกกระจูดแบนโดยใช้ลูกกลิ้งคอนกรีตกลิ้งทับบน ตอกกระจูดแทนการใช้ไม้ตำ
นำเส้นกระจูดที่เตรียมไว้มาทุบด้วยสากตำข้าวอีกครั้ง เพื่อให้เส้นกระจูดพอช้ำๆ และเส้นนุ่มนิ่มลง สลัดแรงๆเอาฝุ่นของดินโคลนที่เกาะติดอยู่ออกให้มากที่สุด นำผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาเช็ดทำความสะอาดและเพื่อให้เส้นกระจูดมีความชื้นเมื่อนำมาถักสานจะทำได้ ง่าย และสวยงาม ถ้าต้องการเส้นสี ก็ย้อมด้วยสีย้อมกกทั่วๆ ไป แล้วนำเส้นกระจูดมาแขวนตากไว้ให้แห้งหลังจากนั้นเข้าสู่การจัดทำเป็นรูปแบบ ต่างๆ ตามต้องการนำผลิตภัณฑ์ที่สานเสร็จแล้วไปตกแต่งหรือตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ตาม ต้องการ สุดท้ายเป็นการลงใช้ยูรีเทนเคลือบ ให้มันวาว และคงทนทั้งรูปร่างและการใช้งาน
เคล็ดลับการเตรียมเส้นกระจูดสำหรับการจักสาน คือ จุดที่สำคัญอันดับแรกของงานทุกรูปแบบเมื่อได้ต้นกระจูดมาแล้ว ให้นำไปแช่ในน้ำโคลนเพื่อไล่ไขมันที่ลำต้นออก โดยกระจูดที่ผ่านการแช่น้ำโคลนจะมีคุณสมบัติเหนียวและไม่มีความชื้นเมื่อ เก็บไว้นาน ๆ จะไม่เกิดปัญหาเรื่องเชื้อรา
การหาตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่คณะกรรมการกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง ต้องติดต่อประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน ในการนำผลิตภัณฑ์กระจูดไปวางขายที่ตลาดภายในหมู่บ้านตำบล อำเภอ จังหวัด ห้างสรรพสินค้า และตลาด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำออกแสดงและจำหน่ายในงานต่างๆเช่นงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมงานและผู้ส่งออก จนมีใบสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตามมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มมีกำลังการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ อีกเท่าที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของกลุ่มและน่าจะมีอนาคตที่ ยาวไกล ถ้าตราบใดที่ยังรวมกันเป็นกลุ่ม และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กกกระจูด ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นวัตถุดิบที่ไม่มีวันหมด ถ้าทุกคนช่วยกันดูแลรักษา ไม่แก่งแย่งที่จะเอาประโยชน์อย่างเดียว จะต้องรู้จักวิธีการปกป้องรักษาทรัพย์สินจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้คงอยู่และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป