สถานที่ผลิต 62/2 หมู่ที่ 3 ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มทอผ้ากระแสสินธุ์
สถานที่ผลิต 62/2 หมู่ที่ 3 ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
ประธานกลุ่ม นางจุไร ทิพย์วารี
ประวัติความเป็นมา จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาในอดีตที่ผ่านมาประมาณปี 2460 ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคลองโหน หมู่ที่ 3ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ ได้มีการทอผ้าเพื่อใช้กันเองในครอบครัวเนื่องจากไม่มีผ้าจากที่อื่นมา จำหน่าย เพราะพื้นที่อยู่ห่างจากตัวเมือง การเดินทางลำบากทุกครัวเรือนจึงได้มีการปลูกฝ้ายเพื่อนำมาปั่นเป็นด้ายใช้ใน การทอผ้า เรียกว่า “ทอโหก” ใช้กี่แบบ 2เขา มีวิธีการนำด้ายมาขยำกับข้าวสุกแล้วนำมาแขวนใช้เปลือกมะพร้าวหวีเส้นด้าย ซึ่งเป็นวิธีที่คิดขึ้นมาเอง ผ้าทอจะมี 2 แบบ สำหรับผู้ชายเรียก “ลายลูกหมู” สำหรับผู้หญิงเรียก “ลายลูกแก้ว” ส่วนใหญ่จะทอใช้เองเกือบทุกครัวเรือนจะมีขายบ้างก็จะขายให้กับคนที่มีฐานะ ร่ำรวย ในราคาศอกละ 3 บาทหลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบและเกิดปัญหาผ้าที่ผลิตได้เป็น “เมล็น” (สัตว์ชนิดหนึ่งลักษณะตัวเล็กมากขายาวคล้ายแมงดา)อาศัยในผ้าที่ทอ กัดเจ็บ จากนั้นก็เริ่มมี ผ้าจากต่างพื้นที่เข้ามาจำหน่ายชาวบ้านจึงเลิกทอผ้าหันมาใช้ผ้าสำเร็จรูปแทน ผ้าทอกระแสสินธุ์ได้มีการฟื้นตัวอีกครั้งเมื่อนางจุไร ทิพย์วารีชาวบ้านคลองโหน อำเภอกระแสสินธุ์ได้ไปมีครอบครัวอยู่ที่เกาะยอ ตั้งแต่ปี2515ได้ใช้เวลาว่างฝึกการทอผ้าจนเกิดความชำนาญ และได้เดินทางกลับมาบ้านเดิมอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี2537และได้นำความรู้ในการ ทอผ้าพร้อมกับกี่กระตุกมาใช้ทอผ้าเป็นอาชีพเสริม ด้วยภาวะความเป็นผู้นำประกอบกับต้องการให้การทอผ้าซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มี ดั้งเดิมในพื้นที่บ้านคลองโหนไม่สูญหายไปจึงได้ชักชวนสตรี – เยาวชน ที่สนใจฝึกการทอผ้า โดยในระยะแรกได้ทำการทอผ้าถุงผ้าขาวม้า เป็นหลัก ต่อมาได้เริ่มทอผ้ายกดอกและได้มีการทอผ้ากันอย่างต่อเนื่องและปัจจุบันได้ ค้นคิดพัฒนาลวดลายใหม่เช่น “ลายดอกบานไม่รู้โรย”
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่มีความสวยงาม คงทนเนื้อแน่น สีไม่ตก มีลวดลายหลายแบบ ความสัมพันธ์กับชุมชน การดำเนินงานกลุ่มทอผ้ากระแสสินธุ์เป็นการใช้แรงงานของคนในชุมชน เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ลดการอพยพแรงงานไปทำงานต่างถิ่นเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่นชุมชนให้ คงใว้และสืบทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
วัตถุดิบและส่วนประกอบ การทอผ้า(ผ้าทอกระแสสินธุ์)มีวัตถุดิบ/อุปกรณ์และขั้นตอนการผลิตดังนี้ วัตถุดิบประกอบด้วย - ด้าย - สีย้อมผ้า อุปกรณ์ประกอบด้วย - กี่ หรือ หูก - ฟัน ฟืม - เครื่องกรอด้าย - หลอดกรอด้าย - กระสวย
ขั้นตอนการผลิต
1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับทอผ้า เช่น เส้นด้ายหลอด กระสวย กี่ให้พร้อม
2. นำด้ายกรอเข้าหลอดตามสีและจำนวนที่ต้องการ
3. นำหลอดด้ายที่กรอเสร็จเรียบร้อยแล้วไปเรียงในที่ค้นด้าย
4. เก็บด้ายมารวม ใส่กะละมัง
5. นำด้ายมาสอดตามคันหวี แล้วนำเข้ากี่ม้วนแล้วนำเข้ากี่ทอ
6. หวีด้ายที่นำมาผูกตึงให้ตรึงสม่ำเสมอคัดลายผ้าเก็บตระกรอลายผ้า
7. กรอด้ายเข้าหลอดเล็กแล้วนำมาใส่กระสวยนำมาทอ
8. ทอผ้าให้ได้ขนาดที่ต้องการแล้วตัดเป็นชิ้น
9. บรรจุลงกล่องผลิตภัณฑ์
10. นำออกจำหน่าย