สถานที่ผลิต 38 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มทอผ้าราชวัตถ์
สถานที่ผลิต 38 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ประธานกลุ่ม นายวิชัย มาระเสนา
ประวัติความเป็นมา เหตุที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพราะในอดีตที่ผ่านมา ผ้าทอเกาะยอ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย คุณภาพไม่มีมาตรฐานราคาไม่แน่นอน แย่งกันขาย ตัดราคากันเอง เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตกรายได้เข้าสู่เกาะยอน้อยจนไม่อาจดำรงอาชีพอยู่ได้ ต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นทำให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีและชื่อเสียงพลอยเสียหาย ไปด้วยและอาจทำให้ผ้าทอเกาะยอสูญพันธ์จนกลายเป็นประติศาสตร์หน้าหนึ่งเท่า นั้นได้ การพูดคุยในสังคมตนเกาะยอจึงเกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2539และหาข้อสรุปว่าจะต้องดำเนินการในรูปของกลุ่ม และสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอให้ได้คุณภาพไปในทิศทางเดียวกัน กลุ่มผ้าทอเกาะยอจึงกำเนิดขั้นมาหลายกลุ่ม และกลุ่มทอผ้าราชวัตถ์ก็เป็นกลุ่มหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสืบสานการทอผ้าเกาะยอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอ การมีรายได้และการอยู่ดีกินดีของตนเกาะยอ และได้จัดตั้งกลุ่มสำเร็จเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยนายวิชัย มาระเสนา เป็นประธานกลุ่มตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
1. เป็นผ้าทอ 4 ตะกอ
2. เป็นกลุ่มพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์สุดาฯ
3. ด้ายที่ใช้ทอมีความมันในตัว สมาชิกของกลุ่มทอผ้าราชวัตถ์ ปัจจุบันกลุ่มผ้าทอราชวัตถ์ มีสมาชิก จำนวน 25 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 21 คน มีอายุตั้งแต่ปี18-70 ปี มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
-ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวประจำปี 2547
-ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมาตรฐานเลขที่มผช.63/2546
ความสัมพันธ์กับชุมชน ฝีมือแรงงานคือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนการทอผ้า
- การเตรียมเส้นด้ายยืนประกอบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ คือ ก่อนจะทอผ้า ช่างจะต้องนำด้ายริ้วที่เป็นเข็ด (ไจ)ซึ่งซื้อมาจากตลาด ไปกรอเข้าหลอดเสียก่อน เพื่อใช้สำหรับงาน โดยเฉพาะ เช่นหลอดด้ายพุ้ง หรือหลอดสำหรับสาวด้ายยืน ที่กรอด้ายนี้เรียกว่า เสาทอหวิง (ดอกหวิง)ระหว่างการกรอต้องหมั่นดูด้วยว่า เส้นด้ายสม่ำเสมอดี ไม่มีรอยคอดที่จะทำให้ด้ายขาดเร็ว ไม่มีปุ่มปม ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการทอถ้ามีต้องเอาออกและต่อให้เรียบร้อยก่อน
เมื่อช่องทอกรอด้ายเข้าหลอดแก้ว(ความยาวของด้ายในหลอดยาวประมาณ 160-200 หลาเท่ากับ 1 เขา) จะนำไปใส่ในเครื่องเดินด้ายเพื่อทำด้ายค้นหรือด้านวิ่งซึ่งมีราวสำหรับ บรรจุหลอดด้วยทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อน้ำพลาสติก แต่ละท่อยาวประมาณ 8 นิ้ว แล้วดึงด้ายสู่รางค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแคร่ยาว ปลายสองข้างห่างกัน 5 หลา แกนไม้ที่อยู่ริมแคร่ทั้งสอง มีข้างละ 19 แกนการค้นด้ายนี้คือ การสาวด้ายยืนนั่นเอง จะทอผ้าหน้ากว้างเท่าไร ใช้จำนวนด้ายกี่เส้นต้องคำนวณดูเสียก่อนตัวอย่างเช่น การทอผ้าขาม้ากับการทอผ้าพื้นหรือการทอผ้าลวดลายขนาดกว้างไม่เท่ากัน เมื่อคำนวณจำนวนด้ายยืนแล้วช่างจะใส่หลอดกรอด้ายไว้ที่ราวบรรจุหลอดด้ายเท่า กับจำนวนเส้นด้ายที่คิดคำนวณไว้แล้วสาวออกมาพร้อมๆกันคือ ดึงมาสู่รางค้น พันด้ายใส่แกนซ้าย-ขวา ของรางค้นจะใส่แกนขึ้นอยู่กับว่าช่างทอผ้าต้องการทอผ้ายาวกี่หลา ชาวเกาะยอคิดความยาวเป็น “ถุง” (1 ถุงเท่ากับ 1หลา) เช่นถ้าต้องการทอผ้าในเครื่องทอผ้าเครื่องหนึ่ง 80 ถุง จะต้องค้นด้ายถึง 15 แกนและค้นจำนวน 30 รอบ การค้นด้ายนี้ต้องใช้แรงงาน 3 คน จึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะการค้นได้ต้องยึดสาวด้ายเดินไป – มา ใส่ด้ายใสแกนถ้ามีผู้ช่วยนั่งแกนริมแคร่ทั้งสองข้างจะช่วยจับด้ายที่คนเดิน ด้ายใส่ในแกนทำให้แล้วเสร็จ และด้ายไม่พันกันยุ่ง
เมื่อค้นด้ายเรียบร้อยแล้วก็จะปลดออกมาจากแคร่แล้วขมวดเป็นลูกโซ่ เพื่อป้องกันมิให้เส้นด้ายยุ่งแล้วแยกเป็นกลุ่มเพื่อนำไปใส่ฟืมภายหลัง การเอาด้ายใส่ในฟืมหรือฟันหวีซี่หนึ่งๆจะสอดด้าย 2 เส้น (เส้นคู่ทำให้ทนทานขึ้น)ประมาณความกว้างทั้งผืนเป็นจำนวน11220เส้นหรือชาว บ้านเรียก 30-30.5 หลบ เพราะฟันหวี40 ซี่คิดเป็น 1 หลบ การสอดฟันหวีนี้จะต้องใช้แรงงาน2 คน ช่วยกัน นั่งอยู่คนละด้านของฟืม ใส่และใช้ไม้เบ็ดเกี่ยวด้าย ถ้าชำนาญแล้วการสอดด้ายเข้าฟืม 30-30.5 หลบ จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที
เมื่อสอดด้ายเข้าฟืมแล้วเสร็จก็นำไปขึงบนกี่สำหรบเก็บตะกอหรือร้อยตะกอ ในห่วงของตะกอ แบ่งด้ายยืนออกเป็นหมู่จะเป็นกี่หมู่ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการทอโดยที่ ตอนนี้ช่างจะหวีด้ายให้เรียบร้อยและสม่ำเสมอกันหวีนั้นจะทำแกนเส้นใยส่วนกาบ ของตาล ทุบเรียงซ้อนกันประมาณ 3-4 แถวเหมือนกับแปรงซักผ้า ช่างทอมักผูกหวีไว้กับเสากี้เพื่อหยิบมาแปรงเส้นด้ายขณะทออยู่เสมอ
- การเตรียมเส้นพุ่งเริ่มจากการที่ช่างทอกรอด้ายที่ใช้เป็นด้ายพุ่งเข้ากระสวย แล้วนำกระสวยด้ายแต่ละสีไปใส่ในรางกระสวย(หรือกรอบกระสวย) อนึ่งในการทอผ้าลายหางกระรอก ร่องลงด้านพุ่งจะต้องเป็นไหม 1 เส้น ใย (ด้าย) 1เส้นมาพันเป็นเกลียวเส้นเดียว ดังนั้น ก่อนที่กรอด้ายพุ่งเพื่อทอผ้าร่องนี้ช่างทอจะต้องหาคนช่วยเพื่อ “คบด้าย”คือเอาไหมและใยมาพันรวมกันเสียก่อน เมื่อคบด้ายแล้วจะกรอพันเก็บไว้จนมีด้ายครบแล้วจึงจะกรอกกระสวยอีกทีหนึ่ง
- ลำดับขั้นตอนการทอผ้าในกี่กระตุก มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 สับสะกอให้ด้ายยืนแยกออกจากกัน โดยที่เหยีบอยู่ข้างล่าง (ใช้เท้าเหยียบ)เป็นการเปิดช่องว่างสำหรับให้ “ด้ายพุ่ง” ผ่านเข้าไปด้าย
ขั้นที่ 2 ใช้มือพุ่งกระสวย ด้านพุ่งให้สอดไปตามหว่างด้าย โดยมีสอดกระสวยซึ่งทำด้วยไม้
ขั้นที่ 3 ปล่อยเท้าที่เหยียบเครื่องบังคับตะกอ เพื่อให้ด้ายพุ่งรวมเป็นหมู่เดียวกันตามเดิมกระทบฟันหวีโดยแรงฟันหวีจะพา พุ่งให้เข้ามาชิดกันเป็นเส้นตรง
ขั้นที่ 4เหยียบที่บังคับตะกออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับขั้นที่ 1กระทบโดยแรงอีกครั้งหนึ่ง จึงพุ่งด้ายเส้นที่ 2 จะทำให้ด้ายเนื้อผ้าแน่นมากขึ้น
การกระแทกฟันหวีอย่างแรงหรือเบามีผลของความยาวของผ้าที่ทอได้ และทำให้เนื้อแน่น หนา หรือบางได้ช่างทอบางคนที่กระแทกฟันหวีแรงอาจมีอัตราการทอประมาณ 4-5 หลา ต่อวันในขณะที่ถ้ากระแทกฟันหวีแต่บางเบา จะทอได้ 6-7 หลา ต่อวัน ดังนั้นคุณภาพและราคาจะแตกต่างกันเพราะการทอด้วย
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ้าเกาะยอที่เป็นผลจากการผลิตของสมาชิกกลุ่มทอผ้าราชวัตถ์ มีจำหน่างที่กลุ่มทอผ้าราชวัตถ์เลขที่ 38 หมู่ 3 ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา 90100 โทร. 074-450029 และหากลูกค้าที่มีบัตรเครดิต (บัตรทอง) ของธนาคารกรุงเทพ จำกัดจะได้รับส่วนลดทันที 5 % นอกนี้สามารถซื้อหาผ้าทอเกาะยอของสมาชิกกลุ่มทอผ้าราชวัตถ์ได้ที่
1. www.thai/tombon.com
2. ร้านขายของในบริเวณโถงต้อนรับ-รับรองของโรงแรมชั้นนำ
3. สถานที่ที่ส่วนราชการจัดไว้ให้ขาย (ส่วนราชการฝ่ายปกครอง) ราคาการจำหน่ายผ้าทอเกาะยอของสมาชิกกลุ่มทอผ้าราชวัตถ์ จะแตกต่างกันไปเนื้อผ้าและลวดลายของผ้า ราคาตั้งแต่ 70-350 บาท/หลาราคาที่ขายได้จะหักเงินเข้ากลุ่ม 40 บาท/หนอกจากนั้นเป็นรายได้ของสมาชิกกลุ่ม