จุดเด่นผลิตภัณฑ์ปัก ถัก-ต้นฝ้าย เชียงใหม่ คือ เป็นงานฝีมือ ซึ่งเน้นงานปัก-งานถัก โดยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจาก ยายสอนแม่ จากแม่สอนลูก จากพี่สอนน้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่เป็นงานที่ทำด้วยมือ
ชื่อกลุ่ม กลุ่มหัตถกรรมบ้านมอญ “ต้นฝ้าย”
สถานที่ตั้งกลุ่ม เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ซอย 1 บ้านมอญ ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130
ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม “ต้นฝ้าย” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่มีความถนัดในด้าน “งานปัก-งานถัก” กอปรกับวิถีชีวิตของคนไทยที่มีความผูกพันกับผ้าฝ้ายมาตั้งแต่แรกเกิด จนทุกช่วงของชีวิต ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม “ต้นฝ้าย” จึงเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจที่จะนำผ้าฝ้ายที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาผสมผสานกับงานฝีมือซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ในด้านงานปัก-งานถัก นำมาคิดสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ในรูปผลิตภัณฑ์ ของใช้และของตกแต่งบ้านอันหลากหลายรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม “ต้นฝ้าย” ทุกผลิตภัณฑ์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากใจ และความตั้งใจ ที่จะสานฝันจากฝ้ายเส้นน้อยเรียงร้อยผ่านเข็มถ่ายทอดจากสองมือด้วยความ ตั้งใจ รังสรรค์ลวดลายปักลงบนผืนผ้า เป็นผลิตภัณฑ์อันประณีตสวยงามมีคุณค่าต้องตาตรึงใจต่อผู้พบเห็น เป็นของฝากของใช้ของขวัญ ที่ประทับใจทั้งผู้รับและผู้ให้
จุดเด่นผลิตภัณฑ์ เป็นงานฝีมือ ซึ่งเน้นงานปัก-งานถัก โดยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจาก ยายสอนแม่ จากแม่สอนลูก จากพี่สอนน้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่เป็นงานที่ทำด้วยมือ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
1. ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าในชุมชนท้องถิ่น
2. รวบรวมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชุมชนเพื่อจัดจำหน่ายภายในท้องถิ่น และต่างจังหวัด
3. จัดให้มีการฝึกอบรม ศึกษาดูงานและสาธิตกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญให้แก่สมาชิก
4. มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารของกลุ่ม มีการถ่ายทำสารคดี เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์
5. มีเงินตอบแทนแก่สมาชิก และให้ทุนการศึกษาสำหรับบุตร – ธิดา ของสมาชิก
6. ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมของกลุ่มและชุมชน
วัตถุดิบ
1) ผ้าสำหรับเย็บ
2) ด้ายถัก
3) ไหมปัก
ขั้นตอนการผลิต
การคัดเลือกผ้าและเส้นด้าย
1. รับผ้าพร้อมบิลส่งของจากกลุ่มทอผ้าและโรงงานในจังหวัดเชียงใหม่
2. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจรับ เช่น ตัวอย่างผ้า ตลับเมตร
3. ดำเนินการตรวจรับผ้า โดยตรวจความละเอียดของผ้า ดังนี้
3.1 ดูเนื้อผ้าและความหนาของผ้าตามต้องการ
3.2 ดูสีผ้าให้ได้ตามความต้องการ หรือตามตัวอย่าง
3.3 ตรวจเช็คความยาว และหน้ากว้างของผ้าโดยการใช้ตลับเมตรเพื่อวัดหน้ากว้างของผ้า ว่าได้ตามความต้องการหรือไม่ กรณีไม่ได้ให้แจ้งผู้ที่นำผ้ามาส่งเพื่อดำเนินการแก้ไข หรือเปลี่ยนผ้า
4. ดำเนินการจัดเก็บผ้าพร้อมบันทึกจำนวนการรับผ้าลงในสมุดรับสินค้า และจัดส่งผ้า ให้ฝ่ายผลิต เพื่อดำเนินการผลิต
การซักฟอก ผ้าและเส้นด้าย
- กรณีจ้างทำข้างนอก
1. ส่งผ้าให้กับโรงงาน อบฟอกพร้อมใบแจ้งรายการส่งฟอก
2. รับผ้าที่ผ่านการฟอกแล้วจากโรงงาน
3. ดำเนินการตรวจรับผ้าที่ฟอกแล้ว โดยตรวจเช็คว่าจำนวนผ้าที่ส่งมาถูกต้องตามใบแจ้ง รายการ และใบส่งของจากโรงงาน
- กรณีซักฟอกเอง
1. นำผ้าหรือเส้นด้าย แช่ซักกับผงซักฟอก
2. ใสเกลือแช่ทิ้งไว้ ประมาณ ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องสีตก
3. ดำเนินการซัก ผ้าหรือเส้นด้าย แล้วล้างผ้าและเส้นด้ายจนกว่าน้ำจะใส
4. นำผ้าหรือเส้นด้ายที่ซักแล้ว มาทำการแช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม แช่ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง
5. นำผ้าหรือเส้นดายที่ผ่านการแช่แล้วขึ้นตาก
6. ดำเนินการจัดเก็บ ผ้าหรือเส้นด้าย เพื่อรอการจัดส่งให้ฝ่ายผลิต ดำเนินการผลิตต่อ
การออกแบบเขียนลาย
- กรณีลายใหม่ๆ
1. ทำการเขียนลาย
2. นำลายที่เขียน ไปทำบล็อกสกรีน และตรายางเพื่อทำการสกรีนลายละปั้มลาย
3. นำลายที่สกรีน หรือปั้มลายแล้วไปดำเนินการปักและถัก
การปักและถักลาย
1. นำผ้าที่ได้จากการสร้างแบบ( Pattern ) มาเขียนลายโดยการสกรีนจากบล็อกสกรีนที่มีอยู่
2. ดำเนินการส่งผ้าที่เขียนลายแล้ว ไปปักและถักลาย
- กรณีปักลาย
1.จัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ เข็มสำหรับปักผ้า , ด้ายดิ้นหรือเส้นฝ้ายสำหรับปักผ้า , กรรไกร , สะดึงสำหรับปักผ้า
2. จัดเตรียมด้ายดิ้นหรือเส้นฝ้าย ตามสีที่ต้องการที่จะปักลายโดยดูจากคู่มือการปักลาย เช่น ลายแมลงปอโทนสีชมพู จะใช้ สีด้ายเบอร์
- สีชมพูหวาน ตรา เสือ - สีชมพูเข้ม เบอร์ 9 ตรา เสือ - สีชมพู เบอร์ 71 ตรา หงส์ - สีแดง เบอร์ 69 ตรา หงส์ - สีเขียว เบอร์ 25 ตรา หงส์
3. ดำเนินการปัก โดยการนำผ้าที่มีลายแล้วมาขึงบนสะดึงและดำเนินการปักลงบนลาย นั้น ๆ
4. นำผ้าที่ปักแล้ว ไปซักแล้วส่งต่อเพื่อดำเนินการประกอบชิ้นงาน
- กรณีถักลาย
1.รับผ้าจากหน่วยงานตัดเย็บ หรือหน่วยงานปักลาย
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ ด้ายถัก เบอร์ 10/3 ขาวนวล , เข็มถักโครเชร์ เบอร์ 6 ,เบอร์ 8, กรรไกร
3. ดำเนินการถัก ตามลายที่ได้รับมอบหมาย เช่น ถักลายก้นหอย , ลายดอกจิก , ลายพัด ลายดอกแก้ว , ฯลฯ ตามมาตรฐาน ตัวอย่างลาย
การตรวจเช็คคุณภาพ
1. งานสกรีนลายผ้า ดำเนินการตรวจเช็คว่าลายสกรีนนั้น คม ชัด หรือไม่ โดยดูไม่ให้ลาย ขาดช่วงหรือหายไป กรณีลายขาดหายไปให้ดำเนินการส่งไปให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ในการสกรีนลาย เพื่อจัดทำลายให้ครบตามที่ต้องการ
2. งานปักลาย ดำเนินการตรวจเช็คลวดลายของการปัก ให้อยู่ในขอบของลาย ตรวจดูความ แน่นของเส้นด้ายที่ปัก ตรวจดูสีจากลายปักว่าถูกต้องครบตามจำนวนสีที่กำหนดให้ หรือไม่
3. งานถักลายดำเนินการตรวจเช็ค โดยดูความแน่นของการถัก กรณีถักลายหลวมไป
การชักรีด
1. รับงานจากหน่วยงานปักและหน่วยงานถัก
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ - ถักชักผ้า - น้ำ - เครื่องซักผ้า - น้ำยกซักผ้า, น้ำยาปรับผ้านุ่ม - ราวตากผ้า
3. ดำเนินการซักผ้า โดยการใช้เครื่องซักผ้า
4. น้ำผ้าที่ซักแล้วไปตากแดดเพื่อรอผ้าแห้ง
5. เก็บผ้าที่ตากแห้งแล้วมาดำเนินการรีด โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการรีด ดังนี้ - เตารีดไฟฟ้า - ที่รองรีดผ้า - น้ำยารีดผ้าเรียบ - กระบอกฉีดน้ำ
การบรรจุเพื่อจัดจำหน่าย
1. รับใบสั่งงานเพื่อบ่งบอกจำนวนสินค้าที่จะทำการบรรจุ
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ - ถุงแก้วสำหรับบรรจุ (ตามขนาดของผลิตภัณฑ์) - เทปใส - กล่องสำหรับบรรจุ (ตามขนาดของผลิตภัณฑ์) - สติ๊กเกอร์ต้นฝ้าย - แผ่นพับ หรือโบว์ชัวร์ - นามบัตร
3. รับผลิตภัณฑ์มาเพื่อดำเนินการบรรจุหีบห่อ
4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามใบสั่งงานก่อนบรรจุหีบห่อ กรณีไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินการแก้ไข
5. ดำเนินการบรรจุ โดยการนำสินค้ามาพับตามตัวอย่างในการบรรจุหีบห่อ โดยปฏิบัติ ตามตัวอย่าง
6. นำสินค้าที่บรรจุหีบห่อแล้ว ติดสติ๊กเกอร์ต้นฝ้าย พร้อมทั้งใส่โบว์ชัวร์และนามบัตร
7. นำผลิตภัณฑ์ที่ทำการบรรจุหีบห่อแล้ว จัดเก็บในสต๊อกเพื่อรอการจำหน่าย
กระบวนการตรวจสอบกล่องบรรจุภัณฑ์
1. ดูจากลักษณะภายนอก
- ดูจากการทากาวว่ามีการทากาวเปื้อนหรือไม่
- ดูการห่อหุ้มว่าผ้าที่ห่อหุ้มนั้นมีอาการบวมหรือไม่ (เพราะการทากาวไม่ติด)
- ดูการเข้ามุมของกล่อง ว่าการเข้ามุมผ้าเรียบร้อยหรือมีส่วนเกินของผ้าหรือไม่
- ดูฐานของกล่อง ว่ามีการใช้ผ้าบุเกินฐานของกล่องหรือไม่
- ดูฝาของกล่อง ว่าสามารถปิดกระชับพอดีกับตัวกล่องหรือไม่
- ดูการโก่งงอของตัวกล่อง
- ดูการตกแต่งฝากล่อง เช่น ริบบิ้น หรือเชือกที่ผูกมีการหย่อนยานหรือไม่ ตำแหน่งที่ ริบบิ้นตรงตามแบบที่ต้องการหรือไม่
- ดูพลาสติกที่ใช้ประกอบด้านหน้าของฝากกล่อง ว่ามีรอยขีดข่วน, ฉีกขาด, รอยเปื้อน การทากาวไม่สนิท หรือไม่
2. ดูจากลักษณะภายใน
- ดูการเข้ามุมผ้าด้านในกล่อง ว่าสนิทหรือไม่
- ดูการทากาวภายในตัวกล่อง ว่าแนบสนิทมีรอยเปื้อนหรือไม่ หมายเหตุ กรณีตรวจแล้ว พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ให้คัดแยกตัวกล่อง บรรจุภัณฑ์นั้นๆ ออกไว้ต่างหาก แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบ พร้อม ทั้งแจ้งให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1) ภายในจังหวัดเชียงใหม่, กรุงเทพมหานคร, ต่างจังหวัด และต่างประเทศ
2) ไนท์บาร์ซ่า จังหวัดเชียงใหม่
3) ศูนย์ OTOP SHOP
- ที่ศูนย์ส่มเสริมการส่งออกภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
- ที่ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกรัชฎา กรุงเทพมหานคร
4) ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่
5) ตัวแทนจำหน่าย ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
6) ที่ตั้งของกลุ่มหัตถกรรมบ้านมอญ “ต้นฝ้าย” เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ซอย 1 บ้านมอญ ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 โทรศัพท์/โทรสาร (053) 384138 มือถือ 081-9028953, 081-9520936