แม่วินเรือจำลอง เชียงใหม่ ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาวประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกระดับประเทศ และการรับรองมาตรฐาน มผช.จากสำนักอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มหัตถกรรมจากไม้แม่วินเรือจำลอง
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 9 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 50360
ประธานกลุ่ม นายมีศักดิ์ ใจทา
ประวัติความเป็นมา เรือหางแมงป่องหรือเรือแม่ปะสามารถบรรทุกสินค้าได้ประมาณ 2.5 ตันเรือที่ดีต้องเป็นเรือที่ทำจากไม้ต้นเดียวและเป็นไม้ต่อเรือมีท้องแบน กินน้ำและบรรทุกของได้มาก การเดินทางมักเป็นขบวนอย่างน้อย 2ลำขึ้นไปเพราะลูกถ่อของเรือสองลำต้องช่วยกันชักเรือขึ้นจากแก่งเที่ยวกลับ เรือลำหนึ่งบรรทุกสินค้าหนักถึง3,000-5,000 กิโลกรัม ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าจ้างคนท้ายเรือหรือนายฮ้อย และค่าจ้างถ่อรวมเป็นเงิน 750-800รูปี เวลาที่ใช้ไปกลับระหว่างเชียงใหม่ – กรุงเทพฯ ขณะนั้นประมาณ 2 – 3 เดือน การค้าทางเรือ มักต้องทำกันตลอดทั้งปี แม้ว่าฤดูแล้งเมื่อสิ้นค้าเริ่มขาดแคลน พ่อค้าคนจีนยังล่องเรือใช้กระดานช่วยลาก เวลากลางคืน ใช้ตะเกียงหรือไต้ส่องทาง เมื่อถึงแก่งตื้นเจ้าของเรือจะขนหินที่ขวางกั้นทางน้ำออกเรียกว่ากองฮิม เมื่อเรือล่องแก่งได้อย่างปลอดภัยแล้วก็โยนหินไปที่เดิม เพื่อให้เรือเที่ยวหลังเสียเวลารื้อย้ายกองฮิม พ่อค้าคนจีนเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการทำการค้าทางเรือ ระยะทางระหว่างเชียงใหม่ – กรุงเทพฯ เนื่องจากมีความชำนาญและคุ้นเคยกับการเดินทางเรือและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับพ่อค้าคนจีนในกรุงเทพฯ อยู่แล้ว คนจีนดั้งเดิมที่อพยพทางใต้ขึ้นมาตั้งหลักแหล่งในภาคเหนือแยกย้ายไปตามฝั่ง แม่น้ำสาขาคือ ปิง วัง ยม น่าน ชุมชนชาวจีนดั้งเดิม ในเมืองต่าง ๆจึงตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ดังปรากฏละแวกชาวจีน ทั้งที่บ้านตาก จังหวัด ตาก ท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ ย่านตลาดเก่า จังหวัดลำปาง ปากบ่องปากซาง บ้านช่างหม้อ
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาวประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกระดับประเทศ
- ได้รับการรับรองมาตรฐาน มผช.จากสำนักอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
วัตถุดิบ 1. ไม้ 2. กาว 3. เชือก 4. ผ้า
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างส่วนตัวท้องเรือ ขั้นแรกต้องเตรียมที่จะทำโครง สร้างของตัวเรือตามขนาดต่างๆ ก่อนแล้วนำมาวาดแบบตามรูปแบบของเรือแต่ละแบบ นำไปฉลุแปรรูปเป็นกระดูกงู โครงของเรือ นำขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อให้เนื้อไม้ละเอียดเรียบ แล้วนำมาติดกาวให้กระดูกงูติดไม้กระดาน นำไม้แผ่นมาติดใต้ท้องเรือเสร็จแล้ว ใช้กาวผสมขี้เลื่อยละเอียด โป๊ะปิดรอยที่เป็นรอยแยกให้สนิทละเอียดเรียบนำมาขัดด้วยกระดาษทรายหยาบก่อน แล้วตามด้วยการขัดกระดาษทรายอ่อน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างส่วนบนของตัวเรือ นำไม้แผ่นที่เตรียมมาเลื่อยเป็น แผ่นบาง ๆเพื่อใช้ทำที่กั้นขอบข้างของเรือและส่วนต่าง ๆ ของเรือ เช่น ที่กั้นดาดฟ้ากาบหน้าส่วนของหน้าเรือ รั้วกั้นระเบียง รั้วกั้นบันได ตอหม้อ พวงมาลัยหรือพังงาหางเสือ สมอเรือ ฯลฯแล้วนำส่วนประกอบทั้งหมดนี้มาขัดกระดาษทรายเตรียมพร้อมที่จะประกอบในขั้น ตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การนำชิ้นส่วนมาประกอบในตัวเรือ นำตัวเรือมาติดไม้ขอบข้างของเรือ และนำส่วนประกอบทั้งหมดของเรือที่กล่าวมานำมาประกอบตามจุดต่าง ๆ ของเรือตามแบบ เสร็จแล้วทำขอบคิ้วแล้วนำมาขัดให้ทั่วทั้งตัวเรือให้ละเอียดหยาบ แล้วใส่ขาตั้งโชว์ของเรือ พร้อมลงพื้นด้วยชแล็คผสมเอง1 ครั้ง นำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้ลื่น ทาซ้ำด้วยแลคเกอร์อีกครั้งแล้วขัดด้วยกระดาษอีก 2 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 4 การสร้างส่วนบนของเรือ นำเสากระดงเรือมาต่อประกอบตามขนาด ต่าง ๆมีเสากระดงเรือหน้า เสากระดงเรือและทำก้านใบของเรือทุกขนาดตามแบบนำทั้งหมดมาทาแลคเกอร์แห้งแล้ว ขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อให้เรียบเนียน ทาแลคเกอร์ซ้ำอีกครั้ง เสร็จแล้วนำไปขึ้นเสากระดงเรือ ติดใบเรือซึ่งใบเรือจะทำมาก่อนโดยการนำมาติดตามขนาดที่ต้องการ นำมีดให้เรียบทำขอบโค้งโดยการนำพลาสติกอัดกาวลาเทกซ์ เสร็จแล้วทำบันไดลิงโดยการโยงเชือกใสใบบังคับเรือหน้าและหลังในขั้นตอนสุด ท้าย แล้วเก็บรายละเอียดตรวจสอบดูความเรียบร้อยส่งให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพเพื่อ ป้องกันความผิดพลาดในการผลิตก่อนออกสู่ตลาด เคล็ดลับในการผลิต ขั้นตอนในการคัดเลือกวัสดุในการผลิต ต้องคัดเลือกไม้ที่มีคุณภาพ การวางโครงสร้างต้องมีความสมดุล
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. ศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย
2. ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ โอท็อปอำเภอแม่วาง
3. ที่ทำการกลุ่ม