วัดโพธิ์ย้อย เป็นวัดที่ไม่เก่าแก่นัก จึงไม่ได้ถูกมองและศึกษาในรูปแบบของศิลปะการก่อสร้าง หากแต่มีความ สำคัญด้วยมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงเก็บรักษาไว้ ได้แก่ ทับหลัง 5 ชิ้น ใบเสมา 3 แผ่น เสาศิลา 5 หลัก
วัดโพธิ์ย้อย ตั้งอยู่ที่บ้านปะคำ หมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ใช้เส้นทางหลวงสาย 208 (บุรีรัมย์-นางรอง) ถึงอำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 2118 (นางรอง-ปะคำ) จนถึงทางแยกอำเภอ ปะคำจากนั้นจึงเลี้ยวซ้าย จะพบวัดโพธิ์ย้อยซึ่งตั้งอยู่ใกล้สี่แยกทางด้านขวามือ
วัดโพธิ์ย้อย เป็นวัดที่ไม่เก่าแก่นัก จึงไม่ได้ถูกมองและศึกษาในรูปแบบของศิลปะการก่อสร้าง หากแต่มีความ สำคัญด้วยมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงเก็บรักษาไว้ ได้แก่ ทับหลัง 5 ชิ้น ใบเสมา 3 แผ่น เสาศิลา 5 หลัก ชิ้นส่วนเสากรอบประตูและฐานศิวลึงค์อย่างละชิ้น
สำหรับทับหลังซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหน้าพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับในซุ้มเรือนแก้ว แวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา กล่าวกันว่าเป็นทับหลังที่เคลื่อนย้ายมาจาก ประสาทหิน บ้านโคกปราสาท หรือที่เรียกว่า ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ซึ่งตั้งห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทางทิศ เหนือ ทับหลังด้านซ้ายสลักเป็นภาพเล่าเรื่องการถวายสตรีให้กับบุคคลผู้มีอำนาจ อาจเป็นกษัตริย์หรือเทพ ภาพบุคคลนั่งเรียงกันภายในซุ้ม มีลายพันธุ์พฤกษาล้อมรอบ และมีปลายทับหลัง 2 ข้าง เป็นภาพมังกรหัน หน้าออกคายลายก้านต่อดอก
ส่วนทับหลังด้านหลังพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอิศวรทรงโคในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือทั้งสองยึดจับที่ท่อนพวงมาลัย 2 ข้าง มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวเป็นรูปบุคคล นั่งในซุ้มเหนือดอกบัวมี ก้านประกอบและทับหลังบนกุฏิอีก 1 ชิ้น สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือ ยึดท่อนพวงมาลัย ด้านข้างพระอินทร์เป็นภาพสิงห์ยืน
จากลักษณะทางด้านศิลปกรรมของทับหลังเหล่านี้ สามารถกำหนดอายุโดยประมาณได้ว่าอยู่ในราวช่วง พุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับศิลปะขอมแบบเกลี้ยงและบาปวน
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น เสาศิลาสลักเป็นรูปโยคีภายในซุ้มและใบเสมา ปักกระจายอยู่รอบอุโบสถ เสมาที่สลักเป็นรูปธรรมจักรอย่างสวยงาม และยังมีชิ้นส่วนของฐานศิวลึงค์ด้วย บริเวณที่ตั้งวัดโพธิ์ย้อย สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นอาคารที่เรียกกันว่า อโรคยศาล ด้วยฐานอุโบสถ ไม้ตั้งอยู่บนฐานโบราณสถานเก่าก่อ ด้วยศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานปรางค์ ทางด้านหลังอุโบสถ มีร่องรอยของสระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมและ ศิลาจารึกที่เรียกว่า จารึกด่านปะคำ ซึ่งเป็นจารึกประจำ อโรคยศาล ก็มีการกล่าวถึงในเอกสารของนักสำรวจ ชาวฝรั่งเศสว่าได้ไปจากวัดนี้ แต่เรียกชื่อว่าวัดปะคำ วัดโพธิ์ย้อยจึงนับเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งใน จังหวัดบุรีรัมย์