วัดตระพังทอง เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เป็นวัดของชุมชนตำบลเมืองเก่า สร้างอยู่ในพื้นที่วัดโบราณแห่งนี้และยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ส่วนที่เป็นโบราณสถาน มีที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่เรียกว่า ตระพังทอง มีเจดีย์ทรงระฆัง ใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐาน
ตั้งอยู่ทางตะวันออกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนใหม่ วัดตระพังทองเป็นวัดของชุมชนตำบลเมืองเก่า สร้างอยู่ในพื้นที่วัดโบราณแห่งนี้และยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ส่วนที่เป็นโบราณสถาน มีที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่เรียกว่า ตระพังทอง มีเจดีย์ทรงระฆัง ใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐาน ส่วนด้านบนใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้าง
จุดเด่นของวัดตระพังทองที่เห็นได้ชัดคือ กลางตระพังเป็นเกาะที่ตั้งของพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ซึ่งยอดและคอระฆังหักพังลงมาแล้ว มีสะพานไม้ขนาดใหญ่ทอดข้ามไปยังเกาะนี้ บนเกาะมีมณฑปสร้างใหม่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ซึ่งปรากฏเรื่องราวในจารึกสุโขทัยหลักที่ 8 ศิลาจารึกเขา สุมนกูฎว่า พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแบบรอยพิมพ์จากลังกาใน พ.ศ. 1902 และให้นำไปประดิษฐาน ณ ภูเขาทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย เรียกว่า เขาสุมนกูฎ ดังในลังกาทวีป (ปัจจุบันเรียกว่า เขาพระบาทใหญ่) มีงานนมัสการพระบาทนี้เป็นประจำทุกปี
รอบ ๆ มีเจดีย์รายล้อมจำนวน 8 องค์ สำหรับโบสถ์ซึ่งปัจจุบันยังเห็นผนังและรูปทรงหลังคาค่อนข้างสมบูรณ์นั้น เป็นเพราะเมื่อราว 90 กว่าปีที่แล้ว พญารณชัยชาญยุทธ(ครุฑ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยได้มาบวชเณรและได้เรี่ยไรทรัพย์ก่อสร้างโบสถ์ขึ้น โดยก่อลงบนรากฐานโบสถ์เก่าสมัยสุโขทัย
สิ่งสำคัญของวัดตระพังทอง ยังมีรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย จำหลักเป็นลายมงคล 108 รอยพระบาทนี้ ได้เคลื่อนย้ายมาจากเขาพระบาทใหญ่ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1902