เที่ยว ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว จ.Songkhla แผนที่

เที่ยว ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว จ.Songkhla แผนที่
  "จองง่าย ไม่ผ่านใคร"
Thailand Travel
Rating : 6/10
9504
 ศาลหลักเมืองสงขลา
 ศาลหลักเมืองสงขลา
 ศาลหลักเมืองสงขลา
 ศาลหลักเมืองสงขลา
 ศาลหลักเมืองสงขลา
 ศาลหลักเมืองสงขลา
ศาลหลักเมืองสงขลา จังหวัดSongkhla

ศาลหลักเมืองสงขลาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา เมืองสงขลา เป็นเมืองที่เงียบสงบ ชาวเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ต่างจาก หาดใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัด มีตึกเก่าโบราณที่ยังคงความสมบูรณ์สร้างแบบชิโน-โปรตุกีส ตามถนน

เที่ยวชม ศาลหลักเมืองสงขลา

เมืองสงขลา เป็นเมืองที่เงียบสงบ ชาวเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ต่างจาก หาดใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัด มีตึกเก่าโบราณที่ยังคงความสมบูรณ์สร้างแบบชิโน-โปรตุกีส ตามถนนนครใน นครนอก นางงาม และยะลา มีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นอาคารแบบจีน ตั้งอยู่ที่ถนนนางงาม สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลา และที่ถนนนางงาม ยังเป็นแหล่งอาหารพื้นเมืองและขนมไทย ๆ ฝีมือชาวบ้านให้เลือกซื้อหาเป็นของฝาก เช่น ขนมสัมปะนี ทองม้วน ทองพลั บ หรือเต้าฮวยที่ขายมากว่า 50 ปี ที่ตรงข้ามศาลหลักเมือง และยังมีข้าวตู ฝีมือดั้งเดิมให้ได้ลิ้มลองอีกด้วย

ศาลหลักเมืองสงขลา อยู่ที่ถนนนางงาม ชาวสงขลาเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา" เป็นที่เคารพสักการะของชาวสงขลาตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลาอันทำให้บ้านเมืองใน ละแวกใกล้เคียงมีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมจีน

ประวัติ : ศาลหลักเมืองสงขลา ตั้งอยู่ที่ถนนนางงามเป็นโบราณสถานสมัยรัตนโกสินทร์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบเก๋งจีน สร้างสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ภายในศาลเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ โดยมีความเป็นมา ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดการฝังหลักชัยเมืองสงขลา ทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่งกับเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่าง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฏกออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยฐานานุกรมเปรียญ 8 รูป และโปรดเกล้าณ ให้พระครูอัฏฏาจารย์พราหมณ์ออกไปเป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์ 8 นาย งานฝังหลักชัยเริ่มด้วยพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองสงขลา ได้เกณฑ์กรมการและไพร่ จัดการทำโรงพิธีใหญ่ขึ้นกลางเมืองสงขลา คือ หน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม อำเภอเมือง โดยตั้งโรงพิธี 4 ทิศ ในวันพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งพวกชาวจีนและ ชาวไทยเพื่อแห่ไปยังโรงพิธีพระสงฆ์ราชา คณะฐานานุกรมเจริญพระปริตร พร้อมกับพระครูสวดตามไสยเวท เมื่อได้เวลาอุดมฤกษ์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1204 (พ.ศ.2385) เวลา 7 นาฬิกา 10 นาที ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฏาจารย์ พราหมณ์ อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า “หลักเมือง” จนทุกวันนี้ ภายหลังการฝังหลักเมืองเสร็จตามพิธีแล้ว มีมหรสพสมโภช 5 วัน 5 คืน ในงานมีทั้งละครหรือโขนร้อง 1 โรง หุ่น 1 โรง งิ้ว 1 โรง ละครชาตรี (โนรา) 4 โรง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระพระสงฆ์ 22 รูป ต่อมาพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้ให้ช่างสร้างตึกคร่อมหลักเมืองไว้ 3 หลังเป็นตึกจีนและสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีกหนึ่งหลัง ครั้น พ.ศ. 2460 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้มีลายพระหัตถ์แจ้งว่าหลักเมืองจังหวัดสงขลาปลวกกัดชำรุด พ่อค้าและประชาชนจังหวัดสงขลา จะช่วยกันออกเงินทำเสาหลักเมืองด้วยซีเมนต์คอนกรีต เพื่อจะได้อยู่อย่างถาวร อุดมฤกษ์ในการวางเสาหลักเมือง ตรงกับวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2460 ตรงกับเดือน 4 แรม 4 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา 22 นาที 36 วินาทีก่อนเที่ยง โหรสี่คนถือก้อนดินยืนประจำทั้ง 4 ทิศ แล้ววางก้อนดินลงในหลุมหลักเมือง จากนั้นจึงเชิญเสาหลักลงหลุมแล้วกลบดินเป็นปฐมฤกษ์ จนถึงเวลา 8 นาฬิกา กับ 41 นาที 36 วินาที ก่อนเที่ยง ถือเป็นฤกษ์ดีที่สุด (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ,2460: ม. 12/19) เสาหลักเมืองนี้จึงอยู่คู่เมืองสงขลา และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสงขลา ตราบจนทุกวันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 โดยมีอาณาเขต คือ ทิศเหนือ ยาว 13 วา ทิศตะวันออก ยาว 1 เส้น 5 วา ทิศใต้ ยาว 13 วา ทิศตะวันตก ยาว 1 เส้น 5 วา

Thailand hotels Thailand hotels
Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
Copyright © 1995-2024 Ideal Creation Center Co., Ltd. All Rights Reserved. Designated trademarks and brands are the property of their respective owners.
Use of this Web site constitutes acceptance of the HotelDirect User Agreement and Privacy Policy.